Facebook
flickr:8722823298

Facebook เป็นบริการเครือข่ายสังคมและเว็บไซต์ เปิดใช้งานเมื่อ 4 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2004 ดำเนินงานและมีเจ้าของคือ บริษัท เฟซบุ๊ก (Facebook, Inc.) จากข้อมูล 4 ตุลาคม 2555 เฟซบุ๊กมีผู้ใช้ประจำ พันล้านกว่าบัญชี หรือคิดเป็นอัตราส่วน 1 ใน 7 ของคนทั้งโลก ผู้ใช้สามารถสร้างข้อมูลส่วนตัว เพิ่มรายชื่อผู้ใช้อื่นในฐานะเพื่อนและแลกเปลี่ยนข้อความ รวมถึงได้รับแจ้งโดยทันทีเมื่อพวกเขาปรับปรุงข้อมูลส่วนตัว นอกจากนั้นผู้ใช้ยังสามารถร่วมกลุ่มความสนใจส่วนตัว จัดระบบตาม สถานที่ทำงาน โรงเรียน มหาวิทยาลัย หรือ อื่น ๆ ชื่อของเฟซบุ๊กนั้นมาจากชื่อเรียกภาษาปากของสมุดที่ให้กับนักเรียนเมื่อเริ่มเรกเรียนในสถาบันอุดมศึกษา ที่มอบให้โดยคณะบริหารมหาวิทยาลัยในสหรัฐอเมริกา เพื่อช่วยให้นักเรียนสามารถรู้จักผู้อื่นได้ดีมากขึ้น

History of facebook

flickr:8721702857

เมื่อวันที่ 4 กุมภาพันธ์ ปี พุทธศักราช 2548 Mark Zuckerburg ได้เปิดตัวเว็บไซต์ facebook ซึ่งเป็นเว็บประเภท social network ซึ่งตอนนั้น เปิดให้เข้าใช้เฉพาะนักศึกษาของมหาวิทยาลัยฮาร์เวิร์ดเท่านั้น และเว็บนี้ก็ดังขึ้นมาในชั่วพริบตา เพียงเปิดตัวได้สองสัปดาห์ ครึ่งหนึ่งของนักศึกษาที่เรียนอยู่ที่มหาวิทยาลัยฮาร์เวิร์ด ก็สมัครเป็นสมาชิก facebook เพื่อเข้าใช้งานกันอย่างล้นหลาม และเมื่อทราบข่าวนี้ มหาวิทยาลัยอื่นๆ ในเขตบอสตั้นก็เริ่มมีความต้องการ และอยากขอเข้าใช้งาน facebook บ้างเหมือนกัน มาร์คจึงได้ชักชวนเพื่อของเค้าที่ชื่อ Dustin Moskowitz และ Christ Hughes เพื่อช่วยกันสร้าง facebook และเพียงระยะเวลา 4 เดือนหลังจากนั้น facebook จึงได้เพิ่มรายชื่อและสมาชิกของมหาวิทยาลัยอีก 30 กว่าแห่ง

ไอเดีย เริ่มแรกในการตั้งชื่อ facebook นั้นมาจากโรงเรียนเก่าในระดับมัธยมปลายของมาร์ค ที่ชื่อฟิลิปส์ เอ็กเซเตอร์ อะคาเดมี่ โดยที่โรงเรียนนี้ จะมีหนังสืออยู่หนึ่งเล่มที่ชื่อว่า The Exeter Face Book ซึ่งจะส่งต่อ ๆ กันไปให้นักเรียนคนอื่น ๆ ได้รู้จักเพื่อน ๆ ในชั้นเรียน ซึ่ง face book นี้จริงๆ แล้วก็เป็นหนังสือเล่มหนึ่งเท่านั้น จนเมื่อวันหนึ่ง มาร์คได้เปลี่ยนแปลงและนำมันเข้าสู่โลกของอินเทอร์เน็ต เมื่อประสบความสำเร็จขนาดนี้ ทั้งมาร์ค ดัสติน และ ฮิวจ์ ได้ย้ายออกไปที่ Palo Alto ในช่วงฤดูร้อนและไปขอแบ่งเช่า อพาร์ทเมนท์ แห่งหนึ่ง หลังจากนั้นสองสัปดาห์ มาร์คได้เข้าไปคุยกับ ชอน ปาร์คเกอร์ (Sean Parker) หนึ่งในผู้ร่วมก่อตั้ง Napster จากนั้นไม่นาน ปาร์คเกอร์ก็ย้ายเข้ามาร่วมทำงานกับมาร์คในอพาร์ตเมนท์ โดยปาร์คเกอร์ได้ช่วยแนะนำให้รู้จักกับนักลงทุนรายแรก ซึ่งก็คือ ปีเตอร์ ธีล (Peter Thiel) หนึ่งในผู้ร่วมก่อตั้ง Paypal และผู้บริหารของ The Founders Fund โดยปีเตอร์ได้ลงทุนใน facebook เป็นจำนวนเงิน 500,000 เหรียญสหรัฐฯ

ด้วยจำนวนสมาชิกหลายล้านคน ทำให้บริษัทหลายแห่งสนใจในตัว facebook โดย friendster พยายามที่จะขอซื้อ facebook เป็นเงิน 10 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ในกลางปีพ.ศ. 2548 แต่ facebook ปฎิเสธข้อเสนอไป และได้รับเงินทุนเพิ่มเติมจาก Accel Partners เป็นจำนวนอีก 12.4 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ในตอนนั้น facebook มีมูลค่าจากการประเมินอยู่ที่ประมาณ 100 ล้านเหรียญสหรัฐฯ
Facebook ยังเติบโตต่อไป จนถึงเดือนกันยายนปีพ.ศ. 2549 ก็ได้เปิดในโรงเรียนในระดับมัธยมปลาย เข้าร่วมใช้งานได้ และในเดือนถัดมา facebook ได้เพิ่มฟังค์ชั่นใหม่ โดยสามารถให้สมาชิก เอารูปภาพมาแบ่งปันกันได้ ซึ่งฟังชั่นนี้ได้รับความนิยมอย่างล้นหลาม ในฤถูใบไม้ผลิ facebook ได้รับเงินจากการลงทุนเพิ่มอีกของ Greylock Partners, Meritech Capital พร้อมกับนักลงทุนชุดแรกคือ Accel Partners และ ปีเตอร์ ธีล เป็นจำนวนเงินถึง 25 ล้านเหรียญสหรัฐ

โดยมูลค่าการประเมินมูลค่าในตอนนั้นเป็น 525 ล้านเหรียญ หลังจากนั้น Facebook ได้เปิดให้องค์กรธุรกิจหรือบริษัทต่าง ๆ ให้สามารถเข้าใช้งาน facebook และสร้าง network ต่าง ๆ ได้ ซึ่งในที่สุดก็องค์กรธุรกิจกว่า 20,000 แห่งได้เข้ามาใช้งาน และสุดท้ายในปีพ.ศ. 2550 Facebook ก็ได้เปิดให้ทุกคนที่มีอีเมล์ ได้เข้าใช้งาน ซึ่งเป็นยุคที่คนทั่วไป ไม่ว่าเป็นใครก็สามารถเข้าไปใช้งาน Facebook ได้เพียงแค่คุณมีอีเมล์เท่านั้น

Facebook คือ เครือข่ายสังคม (social Network) ที่ใหญ่ที่สุดในโลก มุ่งเน้นที่จะช่วยเหลือผู้ใช้ Off-line ให้เกิดความสัมพันธ์ที่แน่นแฟ้นขึ้น เว็บไซด์ปรากฏการแผ่ขยายกลุ่มแต่ละช่วงอายุและวัฒนธรรม มากกว่า 70% ของผู้ใช้เรียกใช้ในท่ามกลางคุณสมบัติเฉพาะอื่นๆ ครอบคลุมถึงการให้สมาชิกจำกัดความเป็นส่วนตัว ซึ่ง ทำให้เกิดความเชื่อมั่นว่าเนื้อหาหรือข้อความ จะถูกพบเห็นเพียงแค่ผู้รับที่ต้องการเท่านั้น ผู้ใช้จะแชร์ อัพเดทสถานะส่วนตัว โดยสัมพันธ์เชื่อมโยงไปยังเว็บไซ้ด์อื่นๆ รวมถึงรูปถ่าย เป็นจำนวนมากและด้วยรูปภาพ 10,000 ล้านรูป Facebook กลายเป็นเว็บไซ้ด์ที่มีการแชร์รูปภาพที่ใหญ่ที่สุด และมีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง มากกว่า 1 เทเลไบ้ต์ ของรูปใหม่ที่มีการอัพโหลดต่อวัน การพัฒนาเทคโนโลยีส่งเสริมให้บริษัทสร้าง Facebook Platforms ซึ่งผู้พัฒนาที่เป็นบุคคลภายนอกนั้น สามารถที่จะสร้าง Application บนเครือข่ายนี้ได้

ในปี 2012 เฟซบุ๊คมีแผนที่จะซื้อหุ้นทั้งหมดของอินสตาแกรม ซึ่งทำธุรกิจเกี่ยวกับโปรแกรมสำหรับถ่ายภาพด้วยเครื่องสมาร์ทโฟน ด้วยวงเงิน 1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยจะจ่ายทั้งเงินสดและด้วยหุ้นของเฟซบุ๊ค ซัคเกอร์เบิร์ก กล่าวถึงเหตุผลในการซื้อหุ้นของอินสตาแกรมครั้งนี้ว่า เนื่องจากอินสตาแกรมมีประสบการณ์ในการให้บริการด้านอื่นๆ เหนือกว่าเฟซบุ๊ค ซึ่งในอนาคต จะทำให้การเป็นสื่อสังคมของเฟซบุ๊คมีบริการที่หลากหลายและทันสมัยยิ่งขึ้น และว่าการเทคโอเวอร์อินสตาแกรมครั้งนี้ ถือเป็นหลักไมล์สำคัญสำหรับความก้าวหน้าและความเติบโตของเฟซบุ๊ค เพราะเป็นครั้งแรกที่เฟสบุ๊คเข้าถือกรรมสิทธิ์ในผลิตภัณฑ์และบริษัทที่มีผู้ ใช้บริการกว้างขวาง

Facebook VS Business

flickr:8721702837

Facebook VS twitter

flickr:8722823378


Facebook 2012

flickr:8722823258
Unless otherwise stated, the content of this page is licensed under Creative Commons Attribution-ShareAlike 3.0 License