เทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology: IT)

หมายถึง เทคโนโลยีที่มีความเกี่ยวข้องกับการเก็บวิเคราะห์ข้อมูล และ ประมวลผลสารสนเทศ เพื่อนำสารสนเทศนั้นไปประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์และสามารถใช้งานได้หลากหลายมากขึ้น
องค์ประกอบหลักของ Information Technology: IT มี 4 ประเภทหลัก ดังนี้
1. Hardware หมายถึง ชิ้นส่วนของอุปกรณ์ต่างๆที่สามารถจับต้องได้ เช่น คอมพิวเตอร์ PC ,Laptop, Smartphone เป็นต้น
2. Software หมายถึง ชุดคำสั่งหรือโปรแกรมที่ใช้ในการควบคุมคอมพิวเตอร์ทำงาน แบ่งออกเป็น 2 ประเภทหลัก
* ซอฟต์แวร์ระบบปฏิบัติการ (Operating System (Software): OS หรือ Platform)
* ซอฟต์แวร์ประยุกต์ (Application Software)
3. Data หมายถึง ข้อเท็จจริงหรือข้อมูลดิบต่าง ๆ โดยข้อมูลเหล่านี้จะถูกจัดส่งให้คอมพิวเตอร์ เพื่อจัดเก็บ และประมวลผลออกมาเป็นสารสนเทศ ที่สามารถนำไปใช้ต่อเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดได้ แบ่งออกได้เป็น 2 ประเภทคือ
* Data Storage : ใช้ในการเก็บข้อมูล เช่น Hard disk , Flash drive, CD-ROM, DVD
* Data management software หรือ Database software : เป็น software ที่ใช้ในการบริหารหรือดูแลฐานข้อมูลในองค์กร
4. Network หมายถึง ระบบเครือข่ายที่เชื่อมโยงคอมพิวเตอร์ไว้ด้วยกัน เพื่อประโยชน์ในการติดต่อ สื่อสาร และใช้อุปกรณ์ร่วมกัน ซึ่งสามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภทหลักๆคือ
* Circuit switching เทคนิคในการสื่อสารข้อมูลจากจุดหนึ่งไปอีกจุดหนึ่ง เมื่อมีการเชื่อมต่อกันแล้วจะติดต่อกันได้ตลอดเวลา ผู้อื่นจะแทรกเข้ามาไม่ได้เลย จนกว่าฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งจะปลดวงจรออก ตัวอย่างง่าย ๆ เช่นการติดต่อทางสายโทรศัพท์ เมื่อเริ่มพูดกันได้แล้ว คนอื่นจะต่อสายแทรกเข้ามาไม่ได้ จนกว่าฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งจะวางหูลง (ปลดวงจร)
* Packet switching เทคนิคในการแบ่งข้อมูลออกเป็นกลุ่ม (Packet) แต่ละกลุ่มจะมีความยาวเท่ากัน (ปกติ 100บิต)ข้อมูลจะหาทิศทางเดินไปได้เอง โดยที่สายหนึ่ง ๆ จะสามารถใช้กันได้หลายคน เมื่อถึงที่ปลายทางข้อมูลก็จะกลับ ไปรวมกันเอง

Source:
http://www.ongitonline.com/index.php?mo=3&art=514335
http://nooplemonic.exteen.com/20090706/circuit-switching-packet-switching
HARDWARE

แบ่งเป็น 4 หน่วยหลักๆ ดังนี้
1. Input Devices – หน่วยที่นำข้อมูลเข้าสู่ระบบ computer ได้แก่ Mouse, Key Board, Disc Drive, Magnetic Tape, Barcode Reader, Touch Screen, Scanner, RFID
2. Processing Devices –อุปกรณ์ที่ใช้ในการประมวลผลข้อมูลที่อยู่ในระบบคอมพิวเตอร์ หลักๆคือ Central Processing unit (CPU) ทำหน้าที่ในการประมวลผล ซึ่งถือเป็นส่วนสำคัญที่สุด โดยควบคุมการทำงาน คำนวณและตรรกกะ โดยคอมพิวเตอร์จะแปลงข้อมูลของผู้ใช้งานไปอยู่ในรูปของ Binary Language ซึ่งประกอบด้วยข้อมูลเพียงสองตัวคือ 0 และ 1 ของข้อมูลในแต่ละ bit (binary digit)
3. Output Devices – อุปกรณ์ที่ใช้ในการนำเสนอข้อมูลหลังจากที่มีการประมวลผลแล้วโดยแบ่งเป็นการ นำเสนอข้อมูล ทาง Soft Copy การนำเสนอข้อมูลผ่านหน้าจอ และ hard copy การนำเสนอข้อมูลผ่านการพิมพ์
4. Storage Devices – อุปกรณ์ที่ใช้ในการเก็บข้อมูล โดยมีอุปกรณ์ที่ใช้ในการเก็บข้อมูลซึ่งแบ่งเป็น 2 ประเภท
* A) Primary Storage อุปกรณ์ที่ใช้เก็บข้อมูลระหว่างที่มีการเปิดใช้คอมพิวเตอร์อยู่ อุปกรณ์หลักๆในการเปิดดู ได้แก่ RAM, ROM, CATCH MEMORY ของ CPU ตัวอย่างเช่น หน้าจอคอมพิวเตอร์ที่มีการเปิดใช้อยู่ CPU ดึงข้อมูลที่อยู่ใน Hard disk มาเก็บไว้ที่ RAM เพื่อใช้ในการประมวลผล ข้อมูลเหล่านี้ที่อยู่ใน RAM จะสูญหายไปหลังจากที่มี่การปิดคอมพิวเตอร์
* B) Secondary Storage หน่วยที่ใช้สำหรับเก็บบันทึก (Save) คำสั่งและข้อมูลเอาไว้อย่างถาวรเพื่อใช้งานในอนาคต หรือเพื่อนำส่งและแลกเปลี่ยนข้อมูลกับผู้อื่น โดยที่สามารถแก้ไขเปลี่ยนแปลงสิ่งที่เก็บได้ตลอดเวลา ฮาร์ดแวร์ทีทำหน้าที่ในหน่วยความจำสำรองที่ใช้ในปัจจุบันมีหลายประเภท เช่น ฮาร์ดดิสก์ แผ่นดิสเกตต์ แผ่นซีดี แผ่นดีวีดี และยูเอสบีแฟลชไดรฟ์ ซึ่งแต่ละประเภทจะมีคุณสมบัติและข้อดีข้อเสียในการเก็บข้อมูลต่างกัน
++เพิ่มเติม
จาก Processing Device อุปกรณ์ที่ใช้ในการประมวลผลข้อมูลที่อยู่ในระบบคอมพิวเตอร์ Central Processing unit (CPU) ทำหน้าที่ในการประมวลผล โดยปัจจุบันบริษัทยักษ์ใหญ่ในการผลิตคือ INTEL มีส่วนแบ่งการตลาดประมาณ 80%
* MOORE’S LAW* เป็นผู้ร่วมก่อตั้งบริษัทอินเทล ได้ใช้หลักการสังเกตตั้งกฎของมัวร์ (Moore’s law) ขึ้น ซึ่งเขาบันทึกไว้ว่า ปริมาณของทรานซิสเตอร์บนวงจรรวม จะเพิ่มเป็นเท่าตัวทุกสองปี และมีผู้นำกฎนี้มาใช้กับecommerce ดังนี้

กำลัง (หรือ ความจุ หรือ ความเร็ว) ของสิ่งต่อไปนี้เพิ่มขึ้นสองเท่าทุกๆ 18 เดือน
1. ความเร็ว Computer Processor
2. แบนด์วิธีการสื่อสารและโทรคมนาคม
3. หน่วยความจำของคอมพิวเตอร์
4. ความจุฮาร์ดดิสก์
ถ้าเราเป็นผู้บริหารและทราบกฎของ Moore อยู่แล้ว ความเร็วของคอมพิวเตอร์เพิ่มเป็น 2 เท่าทุกๆ 2 ปี ด้วยราคาลดลง มีนัยอะไรในการลงทุนในด้าน IT องค์กรของเรา ซึ่งบอกอะไรเราบ้างและควรลงทุนในด้าน IT อย่างไรด้วยจำนวนเงินเดียวกัน และได้ผลตอบแทนที่สูงสุด
Source:
http://www.sawi.ac.th/elearning/hardware/memory.html
http://www.bestwitted.com/?p=726
http://ku-scmicro36bkk.tripod.com/0.1.htm
SOFTWARE

ชุดคำสั่งที่ใช้ในการควบคุม Hardware แบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือ
1. ซอฟต์แวร์ระบบปฏิบัติการ (Operating System (Software): OS หรือ Platform) หน้าที่หลักใช้ในการควบคุมการทำงานทั้งหมดของคอมพิวเตอร์ โดยดึงข้อมูลใน Hard disk จัดเก็บไว้ที่ RAM, ทำการโหลด file เป็นต้น คอมพิวเตอร์ทุกเครื่องจะต้องมีระบบปฏิบัติการอย่างใดอย่างหนึ่งเสมอ ระบบปฏิบัติการยอดนิยมในปัจจุบันนี้ คือ WINDOW, MAC และระบบปฏิบัติการ Linux, Dos และจะมีการพัฒนาโปรแกรมใหม่ ๆ ขึ้นมาเรื่อย ๆ
ตัวอย่างเช่น :

- ข้อดีของ WINDOW: มีผู้ใช้งานค่อนข้างเยอะ ทำให้มี application พัฒนาบน Platform ของ Window เยอะ
- ข้อเสียของ WINDOW: ระบบไม่ค่อยมีเสถียรภาพ ระบบความปลอดภัยค่อนข้างต่ำเนื่องจากคนที่เขียนไวรัสต้องการความเสียหายเยอะ

- ข้อดีของ MAC: ระบบปฏิบัติการมีเสถียรภาพและระบบความปลอดภัยสูง กลุ่มผู้ใช้ส่วนใหญ่คือ Graphic Design
- ข้อเสียของ MAC: เนื่องจากกลุ่มผู้ใช้น้อยดังนั้นการพัฒนา Application จึงมีน้อย และใช้ ระบบการเชื่อมโยงกับระบบ MAC เองเท่านั้น

- ข้อดีของ LINUX: เป็นระบบปฏิบัติการที่ถูกพัฒนามาจากUnix เป็นระบบที่ฟรีไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใดๆ และตัวระบบสามารถทำการแก้ไขได้เนื่องจากเป็น open source operating system ข้อดีคือระบบจะถูกพัฒนาโดย Programmer ทั่วโลก
-ข้อจำกัดของ LINUX: Application มีจำนวนน้อย Learning Curve ค่อนข้างสูง ผู้ support ตัวระบบปฏิบัติการน้อย
2. ซอฟต์แวร์ประยุกต์ (Application Software) เป็นโปรแกรมที่ถูกพัฒนามาเพื่อตอบสนองงานใดงานหนึ่งโดยเฉพาะ เช่น Microsoft word, Adobe, Angry Bird เป็นต้น แแบ่งเป็น 2 ประเภทหลักๆ ดังต่อไปนี้
ซอฟต์แวร์สำเร็จ (Package Software) หรือ ซอฟต์แวร์ที่หาซื้อได้โดยทั่วไป (Off-the-shelf Software) เป็น Application ที่มีความนิยมใช้กันสูง ซึงเป็นซอฟต์แวร์สำเร็จที่บริษัทพัฒนาขึ้น แล้วนำออกมาจำหน่าย เพื่อให้ผู้ใช้งานซื้อไปใช้ได้โดยตรง ไม่ต้องเสียเวลาในการพัฒนาซอฟต์แวร์อีก ซอฟต์แวร์สำเร็จที่มีจำหน่ายในท้องตลาดทั่วไป เช่น โปรแกรมสำเร็จรูปทางด้าน Microsoft Office เป็นต้น

ข้อดี คือมาตรฐาน ราคาไม่สูง คุณภาพดีกว่าและความเสี่ยงต่ำกว่า
ข้อกำจัด คือ ฟังก์ชั่นของ Software ไม่ตรงตามความต้องการของผู้ใช้งานที่แท้จริงและจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนกระบวนการให้ตรงตามฟังก์ชั่นแทน
Customized software (ซอฟต์แวร์ใช้งานเฉพาะ) หรือ proprietary software (ซอฟต์แวร์กรรมสิทธิ์) คือโปรแกรมประยุกต์มีการเขียนขึ้นเอง ซึ่งเป็น Application ที่จัดทำขึ้นเพื่อตอบสนองความต้องการขององค์กรใดองค์กรหนึ่งโดยเฉพาะ ซึ่งไม่สามารถหาซื้อได้ในตลาด ซึ่งแต่ละองค์กรต้องมี Programmer หรือ Key outsource ในการพัฒนา Software ในองค์กรนั้นๆ

ข้อดี คือ ตอบสนองความต้องการขององค์กรได้โดยเฉพาะ
ข้อเสีย คือ ต้นทุนสูงเนื่องจากบริษัทต้องจ้างทีม Software Support มาดูแลระบบ ระบบปฏิบัติการมีเสถียรภาพต่ำ
ตัว Software ยังสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 แบบหลักๆคือ
1. Closed Source คือ ระบบปฏิบัติการที่ไม่เปิดเผยซอร์ฟแวร์ต้นฉบับหรือไม่สามารถเข้าถึง source code และไม่สามารถนำมาศึกษา ดัดแปลงการทำงานของระบบปฏิบัติการเพื่อนำไปใช้งานตามที่ต้องการได้ เนื่องจากการพัฒนาจะถูกกำหนดทิศทางโดยบริษัทเจ้าของลิขสิทธิ์ เช่น Copyright เป็นต้น
2. Open Source คือซอฟต์แวร์ที่สามารถเข้าถึง source code ซึ่งเราสามารถเข้าไปแก้ไขให้เหมาะกับการใช้งาน เช่น Linux, open office, Firefox, Wikipedia เป็นต้น

ความแตกต่างระหว่าง ซอฟต์แวร์ Open Source กับซอฟต์แวร์อื่น
• โดยทั่วไปรูปแบบของไลเซนต์ และการแจกจ่ายซอฟต์แวร์มีหลายรูปแบบ โดยสามารถจำแนกได้ตามเกณฑ์ 2 ด้าน คือ
1. การให้พร้อมซอร์สโค้ด
2. การคิดค่าใช้จ่าย
• Source code หมายถึง รหัสซอฟต์แวร์ต้นฉบับที่เขียนโดยภาษาระดับสูง ซึ่งแตกต่างจากไบนารีโค้ด (Binary Code) เพราะซอฟต์แวร์ Open Source เปิดเผยโครงสร้าง และลอจิกของโปรแกรม
• ซอฟต์แวร์ที่ให้เฉพาะไบนารีโค้ด ((Binary Code))อย่างเดียว เรียกว่า ซอฟต์แวร์ปิด (closed source)
เราสามารถจำแนกซอฟต์แวร์ออกได้เป็น 4 กลุ่ม ดังต่อไปนี้
1. Proprietary/Commercial Software — จะให้เฉพาะไบนารีโค้ดเท่านั้น ไม่เปิดเผยซอร์สโค้ด
2. Shareware — จะให้ใช้ฟรีเฉพาะช่วงเริ่มต้นเท่านั้นเพื่อทดลองการใช้งาน แต่หลังนั้น จะต้องเสียค่าใช้จ่าย และไม่ได้ซอร์สโค้ด
3. Freeware — จะไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย และไม่ให้พร้อมกับซอร์สโค้ด
4. Open Source Software (OSS) — จะให้ซอร์สโค้ด ซึ่งจะมีทั้ง Commercial OSS และ Non-commercial OSS โดยทั่วไปจะสามารถดาวน์โหลดได้จากเว็ปไซต์ คุณสมบัติหลักของซอฟต์แวร์โอเพ่นซอร์ส คือ จะให้อิสระกับผู้ใช้ในการนำไปใช้ นำไปแจกจ่าย และนำไปปรับปรุงแก้ไข อย่างไรก็ตามจะมีข้อแตกต่างกันในส่วนของสิทธิ์ในการนำไปใช้ในทางธุรกิจ สำหรับ Commercial OSS เนื่องจากไลเซนต์ของโอเพ่นซอร์สจะไม่ห้ามให้นำไปคิดค่าใช้จ่าย