ที่ชาร์จไร้สาย (Wireless Charger) บน Mobile Phone

ที่ชาร์จไร้สาย (Wireless Charger) บน Mobile Phone

ข้อมูลข่าว http://www.bloggang.com/mainblog.php?id=pique2002th&month=05-02-2013&group=11&gblog=1 (วันที่ 05 กุมภาพันธุ์ 2556)

เนื้อหาข่าว

flickr:8474112818

เทคโนโลยีหนึ่งที่เริ่มเป็นที่ฮือฮาอีกครั้งในวงการโทรศัพท์มือถือคือระบบชาร์จแบตแบบไร้สาย (Wireless Charger) ที่ถูกนำมาใช้ในมือถือหลายรุ่นเช่น Samsung Galaxy S III, Nokia Lumia 920 เป็นต้น เชื่อว่าหลายต่อหลายคนคงสงสัยว่าทำอย่างไรถึงสามารถส่งก้อนพลังงานผ่านอากาศอันว่างเปล่าไปยังโทรศัพท์มือถือได้ แล้วรู้หรือไม่จริงๆเทคโนโลยีนี้มันต่อยอดมาจากการทดลองวิทยาศาสตร์วัยเด็กนี่แหละ วันนี้จะมาช่วยไขข้อสงสัยว่า Wireless Charger มันทำงานอย่างไร
ขอเทียบกับที่ชาร์จแบบมีสายก่อนละกันเพราะแท้จริงแล้ว Wireless Charger มันก็ทำงานเหมือนที่ชาร์จแบบมีสายนั่นเอง เพียงแต่มันมีกลไกการส่งต่อก้อนพลังงานไปทางอากาศจากตัวส่งไปยังตัวรับ

flickr:8473023307

คราวนี้ Charger ตัวน้อยถูกตัดสายทิ้ง แล้วประกอบเข้าไปด้วยกลไกชุดหนึ่ง

flickr:8474112788

กลไกนี้เองที่เป็นส่วนสำคัญของการชาร์จไร้สาย ทางเทคนิคแล้วถูกเรียกว่า "การส่งต่อพลังงานด้วยการเหนี่ยวนำ" หรือ Inductive และ Wireless Charger ชื่อจริงๆของมันคือ "Inductive Charger" แต่ชื่อมัน Geek เกิ๊น ก็เลยถูกเปลี่ยนให้เข้าใจง่ายนั่นเอง แล้วมันทำงานอย่างไร?
เชื่อว่าตอนเด็กๆคงมีโอกาสได้เล่นแม่เหล็กไฟฟ้ากันทุกคน ที่เรามานั่งเอาขดลวดอาบน้ำยาพันๆๆๆท่อ แล้วปล่อยกระแสไฟฟ้าเข้า ปรากฎว่ามีแรงแม่เหล็กพุ่งออกมาจากท่อได้อย่างน่าอัศจรรย์ใจ และนี่เองคือส่วนของการส่งพลังงาน ! โดยใช้หลักการเปลี่ยนกระแสไฟฟ้าให้เป็นสนามแม่เหล็กแผ่ออกไป ภายในแผ่น Charging Pad ที่ดูหรูหรา แท้จริงแล้วภายในก็เป็นขดลวดอาบน้ำยาขดๆอยู่หลายสิบรอบนั่นเอง !

flickr:8473023297

เริ่มใกล้ความจริงแล้ว เริ่มใกล้ความจริง ถ้ามองจากภาพด้านบนให้จินตนาการว่ามี "กลุ่มก้อนพลังงาน" พุ่งตรงออกมาจากพื้นที่สีดำตรงกลาง (ไม่ใช่รายการคนอวดผีนะ) แล้วสงสัยกันหละสิว่าตัวรับทำงานอย่างไร … จริงๆแล้วมันใช้ขดลวดแบบเดียวกันเลย เพราะปรากฎการณ์นี้สามารถทำกลับได้ กล่าวคือถ้าจ่ายไฟฟ้าเข้าไปจะได้เป็นสนามแม่เหล็กออกมา แต่ถ้าจ่ายสนามแม่เหล็กเข้าไปในพื้นที่ตรงกลาง เราก็จะได้กระแสไฟฟ้าออกมาทางสายนั่นเองงง ดังนั้นในฝั่งของตัวรับที่แปะอยู่ที่ฝาหลังมันก็เป็นขดลวดแบบนี้นี่แหละ เพียงแต่อาจจะพันบางกว่าหน่อยนึงเพื่อแปลงแรงดันไฟฟ้าลงให้เหมาะกับการชาร์จแบตมือถือ จากนั้นกระแสไฟฟ้าก็จะถูกส่งไปแปลงแรงดันให้คงที่ก่อนจะส่งเข้าไปชาร์จแบตโดยตรง

flickr:8474112778

และเมื่อทุกอย่างประกอบกัน มันจึงได้เป็น Wireless Charger ที่ทำงานได้อย่างน่าอัศจรรย์นั่นเอง !

flickr:8474131500

http://www.youtube.com/watch?v=_lBPL7mGO3g&feature=player_embedded
สรุปข่าว

อย่างไรก็ตาม การส่งต่อพลังงานด้วยการเหนี่ยวนำเช่นนี้ยังไงก็ต้องมีพลังงานที่สูญเสีย นี่คือข้อแตกต่างของ Wireless Charger แต่ละเจ้า และเจ้าที่ถูกนำมาใช้เยอะที่สุดในตอนนี้คือ Qi (อ่านว่า ชี่ มาจากพลังงานชี่นั่นเอง) ที่มีอัตราการส่งต่อพลังงานทำได้ถึง 70% จึงเปลืองค่าไฟน้อยกว่าเจ้าอื่นๆ และข้อดีของการที่แต่ละเจ้าใช้ผลิตภัณฑ์ของ Qi คือ เราสามารถใช้งานข้ามยี่ห้อกันได้ เช่น เอา Lumia 920 ไปชาร์จบนแท่นของ Nexus 4 เป็นต้น ทั้งนี้ทั้งนั้นไม่ว่าจะใช้เจ้าไหน ก็เตรียมจ่ายเงินค่าไฟเพิ่มได้เพราะยังไงพลังงานก็มีการสูญเสีย และสิ่งที่แถมมาคือกว่าจะชาร์จเต็มก็ใช้เวลามากขึ้น แต่แลกกับความสะดวกแล้วก็ถือว่าคุ้มมากเลยทีเดียวรวมถึง ต่อไปนี้เราไม่จำเป็นที่จะต้องพกพาเจ้าที่ชาร์ตแบตไปไหนมาไหนอีกต่อไป เนื่องจากเราสามารถชาร์ตได้จากบ้านทุกหลังที่เราเข้าไปเนื่องจากมันใช้เหมือนกันทั่วโลก

**วิเคราะห์ข่าว (SWOT Analysis)

Strength**

1. ระบบการ Qi Wireless Charging เป็นเทคโนโลยีที่สามารถตอบสนองทางด้าน IT ในการพัฒนาร่วมกันของผู้ผลิตมือถือยักษ์ใหญ่ต่างๆเช่น Samsung Nokia ช่วยให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดในระบบ (Maximum Efficiency), การพัฒนาที่รวดเร็ว และมีความยืดหยุ่นและเสถียรภาพของระบบที่ดี (Guaranteed Resiliency) เนื่องจากมีเงินทุนสนับสนุนอยู่เป็นจำนวนมาก

2. สำหรับแผ่นรองชาร์จแบบไร้สายชิ้นนี้ เป็นอุปกรณ์ชาร์จแบตเตอรี่แบบไร้สายเพียง มีขนาดที่กระทัดรัด และไม่เกะกะพื้นที่ไม่จำเป็นอีกต่อไปที่เราจะพกที่ชาร์ตแบตมือถือ

3. เป็นระบบที่สามารถพัฒนาต่อไปไม่ว่าในเรื่องของ Robot ในโรงงานอุตสาหกรรมต่างๆ เนื่องจากไม่ต้องมีสายไฟเป็นจำนวนมากอย่างที่เป็นปัญหาในโรงงานอุตสาหกรรมต่างๆ

Weakness

1. การถ่ายเทพลังงานแบบไร้สายนี้มีขอบเขตที่จำกัด โดยระยะทางที่ถ่ายเทพลังงานได้จะขึ้นอยู่กับขนาดของตัวรับสัญญาณ ยิ่งตัวรับสัญญาณมีขนาดใหญ่เท่าไหร่ ก็จะสามารถรับพลังงานได้ห่างจากแหล่งจ่ายพลังงานได้มากเท่านั้น และในการทดลองสำหรับโทรศัพท์มือถือนั้น มันสามารถชาร์จแบบเตอรี่ได้โดยตั้งในระยะห่างจากแหล่งจ่ายพลังงานประมาณ 2-3 เมตร เท่านั้น การลงทุนหรือปรับปรุงระบบ เนื่องจากเป็น New Technology ทำให้ราคาค่อนข้างสูงพอสมควรหรือเรียกว่าอยู่ในช่วงการใช้แบบ New User

2. มีการสูญเสียพลังงานไปส่วนหนึ่งทำให้เราต้องเสียเวลาในการชาร์ตไฟเพิ่ม รวมไปถึงค่าไฟฟ่าที่สูงขึ้นด้วย

Opportunity

1. ปัจจุบันอัตราการเติบโตของการใช้มือถืออัตราที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วและเป็นสินค้าที่เป็นหนึ่งในปัจจัยสี่
คนทุกคนจะต้องมีครอบครอง

Threat

1. ในช่วงแรกองค์กรต่างๆ อาจจะยังไม่ค่อยสนใจในเทคโนโลยีระบบการจัดการกับ Wireless charger เท่าที่ควร เนื่องจากยังไม่เข้าใจประโยชน์ของตัวอุปกรณ์และกลัวการเปลี่ยนแปลง แต่ในอนาคตระบบนี้น่าจะเป็นที่สนใจมากขึ้นและต้องมีการลงทุนหรือเปลี่ยนแปลงในที่สุดเนื่องจากมือถือรุ่นใหม่หลังจากนี้คงเปลี่ยนไปใช้ Wireless charger กันหมด

Reference

http://www.bloggang.com/mainblog.php?id=pique2002th&month=05-02-2013&group=11&gblog=1
http://www.gizmag.com/powermat-wireless-charging/13046/
http://www.thaimobilecenter.com/home/mobile_article_detail.asp?nid=209
Kittipat Paisitwatanakul
Y34 ID:5510221018

Unless otherwise stated, the content of this page is licensed under Creative Commons Attribution-ShareAlike 3.0 License