IPTV กับการเปลี่ยนแปลงในอนาคต

IPTV กับการเปลี่ยนแปลงในอนาคต

flickr:8494371583

นาย Jim Louderback CEO บริษัท revision3 ได้เขียบบทความเกี่ยวกับอนาคตของ IPTV และเทคโนโลยีล้ำสมัย video streaming ที่ปฎิวัติวงการทีวีในสภาวะปัจจุบัน
บริษัท revision3 ตั้งอยู่ที่ซานฟรานซิสโก ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 2005 โดยสามผู้ลงทุน Digg, Kevin Rose และ Jay Adelson จุดมุ่งหมายเพื่อจะผลิตเนื้อหาที่ไม่สามารถหาได้ในระบบทีวีแบบดั้งเดิมทั่วไป โดยเนื้อหาทางด้านเทคโนโลยี วีดีโอเกมส์ และ ภาพยนต์ ซึ่ง ณ ปัจจุบัน กล่าวกันว่ามียอดชมมากกว่า 23 ล้านในแต่ละเดือน 72% เป็นผู้ชมอยู่ในอายุระหว่าง 18-34
จิม ผู้ที่คร่ำหวอดในวงการเทคโนโลยีและสื่อต่างๆ เป็นผู้นำรายการตั้งแต่ 2007 เชื่อว่า นโยบาย direct-to-user จะเป็นปัจจัยพื้นฐานของผู้ชมที่จะเลือกชมจากสื่อต่าง ๆ ในอนาคตข้างหน้า เค้าเชื่อว่าเทคโนโลยีที่ล้ำหน้าจะเปรียบเสมือนผู้คุมประตูทำหน้าที่ชี้ทางธุรกิจยกระดับให้สามารถแข่งขันกับผู้ให้บริการสื่อเคเบิลต่าง ๆได้
ภาพสุดท้ายที่เราจะเห็นคือ วีดีโอทั้งหมด สื่อบันเทิงต่างๆ และข้อมูลทั้งหลาย จะถูกส่งทาง เครือข่ายอินเตอร์เนตโปรโตคอลแทนที่จะส่งทางเครือข่ายของผู้ให้บริการเท่านั้น ความสามารถของอินเตร์เนตจะทำลายข้อจำกัดต่างๆของระบบผู้ให้บริหารทีวีสมัยเก่าได้
มุมของของอนาคตของเขาคือ ผู้ให้บริการเวบไซต์วีดิโอเจ้าใหญ่อย่าง youtube จะขึ้นนั่งในระดับเดียวกับสื่อใหญ่ ๆ อย่าง ABC-Disney, Time Warner, Comcast และ NBC โดยทำหน้าที่เป็นศูนย์กระจายสัญญาณคุณภาพสูงให้ ประโยคที่เขาเคยพูดตลกไว้บ่อยๆ คือ ถ้า Youtube ได้ลิขสิทธิ์ การถ่ายทอดสด NFL เมื่อไหร่ ทุกอย่างจะจบสิ้น ไม่ต้องได้ลิขสิททั้งหมด แค่ 4 หรือ 8 นัดต่อปีก็สามารถเปลี่ยนแปลงทุกอย่างในวงการนี้ได้

flickr:8494371711
flickr:8494371803

ถึงแม้นั่นไม่ได้หมายความว่า ผู้ให้บริการทาง cable จะหายไป แต่จะมีการเปลี่ยนแปลงก้าวกระโดดของช่องทางการรับชมของผู้ชมและวิธีการจ่ายเงินของพวกเขาได้ นี่จะผลกระทบทางอ้อมต่อวงการทีวีในเรื่องของขนาดและขอบเขตของวงการนี้ในอนาคต
เราอาจจะจ่ายเดือนละ 5 เหรียญเพื่อดู Disney-ESPN 3 เหรียญเพื่อดู Viacom หรือ 7 เหรียญเพื่อดูรายการอื่นๆ นอกจากนี้ก็จะมีผู้ให้บริการเนื้อหาใหม่ ๆ ออกมาตลอด และสามารถยืนอยู่ระดับเดียวกับช่องเจ้าตลาดได้ เพราะสุดท้ายสื่งที่ต่างกันก็แค่ไอคอนของ app ที่ใช้ดูนั่นเอง
ผลลัพธุ์ของเนื้อหาจากการประมวลที่เค้าเห็นคือ ผู้ให้บริการสื่อทางเคเบิลจะยังเข้าถึงผู้ชมได้กว้างอยู่ แต่จะมีงบมาทำเนื้อหาคุณภาพสุง เช่น mad men หรือ game of throne น้อยลง
สิ่งที่เกิดขึ้นกับหนังซีรีย์ใหญ่ๆ จะเห็นว่า ณ ตอนนี้ มีหลงเหลือในตลาดอยู่ไม่กี่เรื่องเท่านั้น เมื่อเทียบกับ สิบหรือ สิบห้าปีก่อน และรายการเรีลิตี้โชว์ก็มีมากขึ้น เพราะต้นทุนต่ำ
ถึงแม้ว่าวงการเคเบิลทีวีจะกลัวการยกเลิกระบบสาย (cord-cutting) และหันมาดูรายการผ่านทางอินเตอร์เนตเป็นทางเลือกใหม่ เขาเองกลับเชื่อว่า สิ่งที่จะมีผลกระทบต่อวงการนี้มากกว่า คือ การเพิ่มขึ้นของกล่องรับสัญญาณผ่านอินเตอร์เนต และอุปกรณ์ต่างๆ ที่เชื่อมต่อระหว่างอินเตอร์เนตกับทีวี
ผู้คนที่เคยจ่ายเงินซื้อบริการทางเคเบิล ก็ยังจ่ายเงินเช่าสัญญาณอยู่ แค่มันจะต่างกันที่เค้าจ่ายเงินซื้อเนื้อหาอะไรมากกว่า
รายได้จะแบ่งยังไง และใครเป็นผู้ได้รับรายได้จากการให้บริการ
ซึ่งเหมือนกับกรณี reader digest นั่นเอง มันประสบความสำเร็จมาก แต่ปัญหาคือไม่ได้พยายามหาตลาดใหม่ จึงเริ่มที่จะหายไปจากตลาดเพราะไม่มีลูกค้าใหม่ในขณะที่ลูกค้าเก่าบางส่วนก็เริ่มหายไป ที่สุดแล้วเคเบิลทีวีก็เหมือนกัน เรากำลังพูดถึงเทคโนโลยีที่อยู่กับเรามา 20 ปีแล้ว มันกำลังจะตายไป และถูกแทนที่จะดูผ่านทางอินเตอร์เนตแทนซึ่งเป็นช่องาทางที่ง่ายกว่า
บทวิเคราะห์
ทีวีเป็นสื่อบันเทิงที่เข้าถึงมนุษย์ได้มากที่สุดอันหนึ่งมานาน มีการพัฒนาต่อเนื่องอย่างไม่หยุดหย่อนตลอดเวลา ในศตวรรษที่ 21 อินเตอร์เนตได้เปลี่ยนแปลงอารยธรรมของมนุษย์ ทีวีก็ได้รับผลกระทบเช่นกัน
ปัจจุบันในบางพื้นที่ ระบบรับสัญญาณทีวีดั้งเดิม เช่นสายเคเบิลและการกระจายสัญญาณจากสถานีทีได้ถูกทดแทนด้วย อินเตอร์เนต เนื่องจากการเข้าถึงของเทคโนโลยีใหม่ และข้อจำกัดเทคโลโลยีดั้งเดิมที่มักจะติดปัญหาทางภูมิศาสตร์ และช่องทางใหม่ทิ่เกิดขึ้นสำหรับการรับชมทีวี คือการดูทีวีผ่านอินเตอร์เนต หรือ IPTV (Internet protocol TV) ซึ่งจะมีกล่องรับสัญญาณ(set top box)เป็น ตัวแปลงจากข้อมูลกลับมาเป็นภาพและเสียงก่อนที่จะแสดงผลออกมาทางจอทีวีนั่นเอง

flickr:8495472392

ผู้ให้บริการที่ครองตลาดส่วนใหญ่ ณ ปัจจุบันหรือ cable provider เคเบิลในที่นี้คือการรับชมแบบใช้สาย cable ต่อจากผู้ให้บริการเข้ามาในบ้านและต่อเข้ากล่องรับสัญญาณ ถึงแม้ระบบนี้จะไม่ใช่ระบบที่แพร่หลายที่สุดในประเทศไทย แต่ในสหรัฐอเมริกานั้น ถือเป็นอันดับหนึ่งเลยทีเดียว เนื่องจากสมารถให้ข้อมูลที่ชัดกว่าระบบดาวเทียมอย่างในบ้านเราและเกิดปัญหาน้อยกว่าโดยทนทานต่อสภาพแวดล้อมภายนอกได้เช่น สัญญาณรบกวน ฝน หรือลม ที่อาจจะทำให้ดาวเทียมไม่สามารถใช้งานได้
เนื้อหาด้านบนจะเน้นไปทางในส่วนของข้อมูลบริการ(content) ที่ผู้เขียนคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ในอนาคตเกี่ยวกับวิธี หรือ "ช่องทาง" การให้บริการนั่นเอง ปัจจัยหลักที่จะเปลี่ยนแปลงการให้บริการสื่อทีวีคือ ระบบ IPTV ที่สามารถให้ข้อมูลที่คมชัดผ่านทางอินเตอร์เนตซึ่งณ ปัจจุบันเป็นสิ่งที่เรียกว่า ขาดไม่ได้ในทุกครัวเรือนสำหรับคนยุคใหม่ไปแล้ว
ที่ผู้เขียนยกตัวอย่าง youtube ขึ้นมาเพราะเป็นตัวอย่างที่เห็นได้ชัดที่สุด การที่ผู้คนหลั่งไหลเข้าใช้งาน youtube และตัว youtube เองได้พัฒนาเพื่อตอบสนองความต้องการของผู้ใช้แต่ละประเภทได้อย่างลงตัว (bufferring, customized resolution) buffering จะช่วยทำให้คนที่มีปัญหาทางอินเตร์เนตที่ไม่เสถียรสามารถดูได้อย่างต่อเนื่อง โดยไม่ติดขัดโดยเริ่มโหลดสักพักก่อนจะดู customized res จะทำให้ผู้ชมสามารถปรับความละเอียดของจอสำหรับแสดงผลเพื่อปรับให้เข้ากับความเร็วของอินเตร์เนตที่ตัวเองใช้งาน เพราะฉะนั้น คนที่ใช้อินเตอร์เนตก็จะสามารถดูได้อย่างไม่ติดขัดโดยการลดความละเอียดลง
ช่องทางตรงนี้ จะมีผลกระทบต่อระบบทีวีดั้งเดิม เพราะจากเดิม เนื้อหาบางประเภทจะผูกขาดกับผู้ให้บริการบางเจ้าเท่านั้น แต่ถ้าเราเลือกซื้อเฉพาะการแข่งขันที่เราชอบจากอินเตร์เนตได้ ความสำคัญของระบบ cable tv ก็จะลดลงอย่างแน่นอน

ผลกระทบต่อประเทศไทย
เราลองกลับมาดูผลกระทบที่อาจะเกิดขึ้นของประเทศไทย ณ ปัจจุบัน สังเกตุเห็นว่าเราจะเห็นผู้คนเริ่มดูละครหลังข่าวจากอินเตร์เนตมากขึ้นเนื่องด้วยปัญหาที่คนนั้นไม่สามารถรับชมการถถ่ายทอดสดได้ นี่ได้ถือว่าเป็นการก้าวกระโดดของวงการทีวีเลยทีเดียว เพราะทุกคนสนใจเกี่ยวกับความสดของเนื้อหาน้อยลงและยอมรับได้ถ้าไม่ได้ดูสด ปัจจัยประกอบคือเทคโนโลยีของโทรศัพที่อำนวยความสะดวกให้ผู้ใช้ติดต่อกับอินเตร์เนตได้อย่างง่ายดายมากขึ้น นี่อาจจะไม่ใช้จุดจบของวงการทีวีแบบเก่าเพราะส่วนใหญ่ของประเทศไทยยังเข้าไม่ถึงเทคโนโลยีใหม่ๆ สมาทโฟน หรือ อินเตอร์เนตความเร็วสูง ในเขตชานเมืองและต่างจังหวัด
แต่ในเมืองหลวง หรือเขตพัฒนาแล้ว จะสั่งเกตุได้อย่างชัดเจน รายการ Reality ต่างๆที่ผุดขึ้นอย่างมากมายจากอินเตร์เนตเพราะในสามารถซื้อช่องออกอากาศด้วยราคาที่สูง จะเริ่มมีสปอนเซอร์เข้ามาตามยอดที่ผู้ชมเริ่มเข้ามาดู เช่น รายการ VRZO เป็นต้น
นี่ไม่ใช้ห้าปีก่อนที่คนทำวีดีโอในอินเตอร์เนตทำเล่นๆเพื่อความสนุกโดยไม่มีรายได้อีกต่อไป เมื่อต้นทุนที่แพงที่สุดตือ ช่องทางการกระจายข้อมูลถึงผู้บริโภคได้เปิดกว้างขึ้นโดยอินเตร์เนต เราคงจะเริ่มเห็นรายการต่างๆอาศัยระบบ IPTV ในการส่งข้อมูลถึงผู้บริโภคมากขึ้น
เมื่อเราไปถึงจุดๆ นึง การส่งเนื้อหาที่ถูกที่สุด วงกว้างที่สุด และเข้าถึงผู้ชมได้มากที่สุด อาจจะเป็นระบบ IPTV ก็เป็นได้ ถึงแม้ประเทศไทยจะติดปัญหาที่เป็นประเทศกำลังพัฒนา แต่ถ้ามองจากจำนวนผู้คนในวัยรุ่นถึงทำงานที่ใช้งานอินเตร์เนตอย่างมหาศาล โทรศัพมือถือรุ่นใหม่กลายเป็นค่านิยม และผู้ให้บริการอินเตร์เนตและโทรศัพท์ได้พัฒนาการบริการให้ครอบคลุมพื้นที่ให้ได้มากที่สุดนั้น IPTV อาจจะครอบครองตลาดในอนาคตได้อย่างไม่ยากเย็นนักในอนาคตข้างหน้า
สรุป
ตลาดของ IPTV ได้เติบโตเป็นอย่างมากและได้ถูกคาดการณ์ว่าจะโตไปได้อีกถึง 3หมื่นล้านเหรียญในปี 2018 จากปีที่แล้ว (2012) ที่ทำรายในอเมริกาไปกว่าสองหมื่นล้านเหรียญ การเติบโตนี้ได้ควบคู่ไปกับการพัฒนาเทคโนโลยีของอัตราการรับส่งข้อมูลของผู้ให้บริการอินเตร์เนตซึ่งพัฒนาเพิ่มขึ้นตลอดเวลา
ในขณะที่การแข่งขันการบริการอินเตอร์เนตสูงขึ้น ราคาคาดว่าจะมีแนวโน้มถูกลงตามกลไกตลาด นี่จะเป็นโอกาสของ IPTV ที่จะเข้ามามีบทบาทในชีวิตเรามากขึ้น ด้วยการแสดงภาพและเสียงที่คมชัดมากกว่าการส่งสัญญาณแบบเก่า
Reference
http://www.c21media.net/archives/76422
http://www.iptv-news.com/2013/02/iptv-to-generate-53bn-in-2018/

Unless otherwise stated, the content of this page is licensed under Creative Commons Attribution-ShareAlike 3.0 License