Mobile PayTV ครั้งแรกในประเทศไทย

บริการMobile PayTV ครั้งแรกในประเทศไทย ทรูวิชั่นส์ ให้บริการโทรทัศน์แบบบอกรับเป็นสมาชิกของไทย เปิดตัว “True visions anywhere” บริการโมบายล์เพย์ทีวีใหม่ ครั้งแรกในประเทศไทย ให้รับชมช่องรายการโปรดจากทรูวิชั่นส์และช่องรายการฟรีทูแอร์ ได้ทุกที่ทุกเวลาตามต้องการ เพียงแค่มีสัญญาณ 3G หรือไว-ไฟ เพื่อเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต โดยจะเริ่มใช้บริการได้ตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม 2556 เป็นต้นไป
ทรูวิชั่นส์ลงทุนกว่า 460 ล้านบาท เพื่อให้บริการทรูวิชั่นส์ เอนิแวร์ในประเทศไทย โดยเป็นการลงทุนด้านอุปกรณ์เครื่องมือ การพัฒนาซอฟต์แวร์ และอื่นๆ ซึ่งมั่นใจว่าในปีแรกจะมีสมาชิก 350,000 ราย ได้ใช้ประโยชน์จากบริการนี้ บริการดังกล่าวถือเป็นส่วนหนึ่งของกลยุทธ์ที่จะตอกย้ำความเป็นผู้นำของทรูวิ ชั่นส์ ในการเป็นผู้ให้บริการเพย์ทีวีอันดับ 1 ของไทย ด้วยการก้าวนำเทคโนโลยีใหม่ๆ มาบริการสมาชิกจากเดิมต้องนั่งอยู่หน้าจอโทรทัศน์เท่านั้น ต่อจากนี้ไปสามารถรับชมรายการโปรดจากทรูวิชั่นส์ได้ทุกที่ ทุกเวลา ไม่ว่าจะอยู่นอกบ้าน บนรถ รถไฟฟ้า หรือกลางแจ้งที่ใดก็ตาม

"True visions anywhere" นำเสนอ 120 ช่องรายการให้สมาชิกได้รับชมผ่านสมาร์ทโฟน ทั้งไอแพด ไอโฟน และอุปกรณ์มือถือในระบบแอนดรอยด์ เช่น ซัมซุง กาแลกซี่ รวมไปถึงเครื่องคอมพิวเตอร์แลบท็อป และโน้ตบุ๊ค โดยมีรายการจากทรูวิชั่นส์ 65 ช่อง อาทิ TrueSport HD2 (UEFA Champion League), Gold Channel Thailand HD (European Tour), ASN (American Football NBA), History HD, National Geographic HD, Cartoon Network, True X-Zyte, KMTV (คอนเสิร์ตเกาหลี), iConcert (คอนเสิร์ตต่างประเทศ), CNN, BBC World News, TNN24 HD และช่องรายการฟรีทูแอร์อีก 55 ช่อง

"True visions anywhere" สามารถใช้ได้กับผู้ให้บริการทุกเครือข่าย เพื่อการรับชมที่ต่อเนื่องไม่ขาดตอน ความเร็วในการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตควรอยู่ที่ 4 mbps สำหรับช่องรายการระบบไฮเดฟินิชัน และ 2 mbps สำหรับช่องรายการระบบปกติ
ซึ่งผู้ที่ต้องการใช้งานเพียงแค่สมัครสมาชิกทรูวิชั่นส์ ซึ่งมีค่าบริการเพียงเดือนละ 299 บาทเท่านั้น

"ก้าวย่างสำคัญของ Mobile TV ในประเทศไทย"

ท่ามกลางกระแสข่าว Digital TV ได้มีการจุดประกาย Mobile TV ที่จะมีการออกใบอนุญาตโดย กสทช. ในปี 2555 ปัจจุบันเกาหลีและญี่ปุ่นเป็นผู้นำของโลกทางด้าน Mobile TV ซึ่งเป็นการให้บริการผ่านดาวเทียม หรือ คลื่นความถี่ภาคพื้นดิน (Terrestrial) และได้รับความนิยมอย่างแพร่หลาย ซึ่งโทรศัพท์มือถือที่ใช้รับชมต้องมีความสามารถในการรับชม Mobile TV โดยเฉพาะ และไม่สามารถเป็น Smart Device ทั่วไป เช่น iPhone iPad ฯลฯ ได้ ในขณะที่โทรศัพท์มือถือที่รับชม Mobile TV ได้ หาซื้อได้ทั่วไปในเกาหลีและญี่ปุ่น แต่โทรศัพท์จากประเทศต่างๆ ทั่วโลก กลับไม่มีความสามารถนี้ และนี่เป็นหนึ่งในอุปสรรคที่ทำให้ iPhone เคยประสบปัญหาในการทำตลาดในญี่ปุ่น เพราะไม่สามารถรับชม Mobile TV ได้

ด้วยพัฒนาการของเทคโนโลยี Mobile TV ผ่าน 4G LTE ในรูปแบบของ Integrated Mobile Broadcast (iMB) ได้เริ่มมีการทดลองใช้ในยุโรป และเป็นอีกรูปแบบหนึ่งสำหรับการให้บริการ Mobile TV ที่ใช้คลื่นความถี่ของ 4G LTE ในการ Broadcast วีดิโอไปยังโทรศัพท์มือถือที่ใช้รับชม ดังนั้น Mobile TV อาจเป็นจุดเริ่มต้นของ Convergence ระหว่างโทรคมนาคมกับบรอดแคสต์อย่างแท้จริง ภายใต้การกำกับดูแลของ กสทช. ที่มีการหลอมร่วมการให้บริการ ตั้งแต่ สถานีฐาน คลื่นความถี่ จนกระทั่งโทรศัพท์มือถือที่ใช้รับชม

แต่ถึงกระนั้น iMB ก็มิได้เป็นฟังก์ชันพื้นฐานของโทรศัพท์มือถือ หรือ Smart Device ทั่วไปในปัจจุบัน แม้ The New iPad จะรองรับ 4G LTE แต่ก็มิได้รองรับ iMB ซึ่งการรับชม iMB ผ่าน iPhone หรือ iPad จำเป็นต้องใช้อุปกรณ์เสริม (Accessory) ในรูปแบบเดียวกับการรับชม Mobile TV ผ่านดาวเทียม หรือ Terrestrial ที่จำเป็นต้องใช้ Accessory เช่นกัน

สำหรับ Mobile TV แล้ว อุปกรณ์ในการรับชมกลับมีความสำคัญต่อความสำเร็จของรูปแบบการให้บริการ ปัจจุบันผู้ใช้ Smart Device ต่างพกพา Smart Phone เป็นอย่างน้อย และอาจมีการพกพา Tablet อีกด้วย การที่ต้องมาพกพาอีกหนึ่งอุปกรณ์สำหรับรับชม Mobile TV โดยเฉพาะอย่างแล้ว ย่อมเกิดความไม่สะดวกสบาย และเป็นอุปสรรคต่อความสำเร็จของการใช้งานอย่างแพร่หลาย

ภายใน 2015 Smart Phone อาจมีส่วนแบ่งเกินครึ่งหนึ่งของโทรศัพท์มือถือในประเทศ ในขณะเดียวกัน Tablet โดยเฉพาะ iPad กลับมียอดจำหน่ายที่ไม่น้อยหน้า Smart Phone เช่น iPhone ดังนั้น Mobile TV ที่จะจัดสรรในปี 2012 อย่างประสบความสำเร็จ อาจต้องเลือกระบบที่รับชมได้โดย Smart Device ที่มีใช้งานอย่างแพร่หลายในประเทศไทย

ปัจจุบันเป็นการเปลี่ยนผ่านจาก 3G เข้าสู่ 4G LTE ซึ่งชี้ชัดโดย The New iPad ที่เป็น Smart Device ใน Platform iOS ชิ้นแรกที่ได้รองรับ 4G LTE

ทั้งนี้ 4G LTE นอกเหนือจากการที่เป็นระบบโทรคมนาคมความเร็วสูง ยังสามารถให้บริการ Mobile TV ด้วยเทคโนโลยี iMB ซึ่งมีการทดลองใช้ในยุโรป แต่ถึงกระนั้น ความสำเร็จของ Mobile TV ที่จะจัดสรรในปี 2012 ยังคงต้องคำนึงถึงอุปกรณ์ในการรับชม ที่มีอยู่แพร่หลายในตลาด ซึ่งอาจเป็น Smart Device ในรูปแบบของ Smart Phone และ Tablet

อย่างไรก็ดี Mobile TV และ iMB ผ่าน 4G LTE อาจเป็นจุดเริ่มต้นของ Convergence ระหว่าง โทรคมนาคมกับบรอดแคสต์ อย่างแท้จริง และจะเป็นบทบาทที่สำคัญของ กสทช. ที่น่าติดตาม และจะเปลี่ยนรูปแบบของสื่อ ทั้ง Traditional และ New Media ให้ยากที่จะแยกจากกันได้อีกต่อไป

บทบาทของ กสทช. กับMobile TV ที่จะเกิดขึ้นในประเทศไทย

ขณะนี้ กสท. อยู่ระหว่างการศึกษาการทำ Mobile TV ควบคู่กับการเปิดให้บริการโทรทัศน์ในระบบดิจิตอลในประเทศไทย
พันเอกนที ศุกลรัตน์ รองประธานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ หรือ กสทช. และประธานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ เปิดเผยว่า การเปิดให้บริการโทรทัศน์ในระบบดิจิตอลทดแทนระบบอนาล๊อกในประเทศไทย ซึ่งจะทำให้ประเทศไทยมีช่องฟรีทีวีเกิดขึ้น 48 ช่อง ด้วยรูปแบบการประมูลคลื่นความถี่และออกใบอนุญาตการประกอบกิจการ และเมื่อโทรทัศน์ในระบบดิจิตอลให้บริการแล้วในอนาคตอาจจะให้การอนุญาตภายใต้ ใบอนุญาตเพื่อให้มีการทำ Mobile TV หรือ การรับชมโทรทัศน์ในระบบดิจิตอล 48 ช่อง ที่ให้บริการในประเทศไทยผ่านโทรศัพท์มือถือ ในลักษณะเดียวกันกับเครื่องรับโทรทัศน์จริงทุกประการ มีจำนวนช่อง และเนื้อหารายการแบบเดียวกันทั้งหมด แต่จะสามารถชมได้ทุกที่ทุกเวลา เนื่องจากการแพร่ภาพโทรทัศน์ในระบบดิจิตอลของไทยระบบ DVBT 2 สามารถให้บริการ Mobile TV ควบคู่ไปได้ด้วย โดยขณะนี้ยังอยู่ระหว่างการศึกษารายละเอียดเกี่ยวกับการให้สิทธิ์ผู้ได้รับ ใบอนุญาตประกอบกิจการโทรทัศน์ระบบดิจิตอล ที่จะเปิดให้บริการ Mobile TV ควบคู่ไปด้วย
อย่างไรก็ตาม การทำ Mobile TV มีเพียงประเทศญี่ปุ่นเท่านั้นที่ประสบความสำเร็จ เนื่องจากประชาชนสามารถรับชมผ่านโทรศัพท์มือถือโดยไม่มีค่าใช้จ่ายใด ๆ เพิ่มเติม ส่วนประเทศไทยจะสำเร็จหรือไม่นั้นคาดว่าขึ้นอยู่กับการใช้จ่ายเช่นเดียวกับ ประเทศญี่ปุ่น หากไม่มีการเก็บค่าใช้จ่ายใด ๆ เพิ่มเติมจากการใช้งานโทรศัพท์ก็เชื่อว่า Mobile TV ในประเทศไทยจะได้รับความนิยม

วิเคราะห์บทความ

น่าจะเป็นอีกช่องทางหนึ่งของทรูวิชั่นส์ในการเสริมจุดเด่นและจุดแข็งให้กับตัวเอง รวมถึงเป็นการขยายฐานและแย่งชิงลูกค้า ซึ่งTrueเองมีจุดได้เปรียบตรงที่ เป็นทั้ง Network Provider และ Content Providerซึ่งมีเคเบิ้ลและช่องทีวีเป็นของตัวเองต่างจากคู่แข่งทั้งทางด้าน Network Providerอย่าง DTAC และ AIS ที่ยังไม่มีช่องTVเป็นของตัวเองโดยยังต้องอาศัยเป็นPartnerร่วมกับผู้ผลิตคอนเทนต์ต่างๆเพื่อดึงมาร่วมผลิตและให้บริการสาชิกของตัวเอง และยังเหนือกว่าคู่แข่งที่เป็นContenet Providerด้วยกันที่ทำได้แค่เพียงผลิตคอนเทนต์ แต่ไม่มีช่องทางเสนอให้กับผู้บริโภคโดยตรง แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น การจะเป็นผู้ผลิตคอนเทนต์ต่างๆ เพื่อนำมาให้บริการบนแพลตฟอร์มของMobile ก็ต้องคำนึงถึงระบบเครือข่ายสัญญาณที่ให้บริการอยู่ในประเทศไทยปัจจุบัน ว่าตอบสนองความเร็วได้มากน้อยเพียงใด ต่อให้เป็นรายการที่ดี กีฬาที่อยู่ในกระแสมากแค่ไหน ถ้าเครือข่ายไม่มีการตอบสนองที่แรงพอ ผู้บริโภคเองก็อาจจะไม่พอใจกับการดูทีวีในโทรศัพท์มือถือแบบติดๆขัดๆ และเม็ดเงินจากโฆษณาสินค้าต่างๆ คงจะไม่ไหลมาลงในช่องทางMobile TVมากมายอย่างที่คาดหวังแน่นอน.

SWOT Analysis "True visions anywhere" PayTV on Mobile ของ TRUE

S : Strength
True มีจุดแข็งตรงที่เป็นทั้งผู้ให้บริการเครือข่าย(Network Provider) มีคลื่นความถี่เป็นของตัวเองโดยเฉพาะคลื่นที่ให้บริการ3Gทั้ง 850MHz และ 2100MHz รวมถึงเป็นผู้ผลิตคอนเทนต์และให้บริการรับชมผ่านช่องทีวีของตัวเองคือ True visions ทำให้True สามารถควบคุมต้นทุน รวมถึงรายการที่จะผลิตและนำเสนอให้ตรงใจผู้บริโภค และสามารถจัดสรรคลื่นความถี่ของตนเองมาใช้ได้
W : Weak
True มีฐานลูกค้าส่วนใหญ่อยู่ในกรุงเทพและปริมณฑล ส่วนต่างจังหวัดออกไปยังมีค่อนข้างน้อย เนื่องจากอุปกรณ์และเสาสัญญาณของTrueเองยังมีในสัดส่วนที่น้อย จึงอาจจะทำให้ฐานที่สนใจจำกัดอยู่ในบริเวณกรุงเทพและหัวเมืองใหญ่ๆ
O : Opportunity
True ถือว่าเป็นเจ้าแรกที่กระโดดลงมาให้บริการดูทีวีผ่านมือถือ แม้ก่อนหน้านี้จะมีผู้ให้บริการคอนเทนต์หลายเจ้า ร่วมมือกับผู้ให้บริการเครือข่ายผลิตแอพพลิเคชั่นดูทีวีแต่ก็ยังเป็นรายการที่อยู่ในฟรีทีวีเท่านั้น รวมถึงบางรายการยังไม่ใช่การดูแบบRealtime ด้วย นี่จึงเป็นโอกาสของTrueที่จะดึงฐานลูกค้าที่เป็นสมาชิกTrue visionsแต่ไม่ได้ใช้มือถือในระบบของTrue อาจจะเปลี่ยนมาเป็นสมาชิกค่ายTrueมากขึ้นเมื่อผู้บริโภครู้ว่าตนเองสามารถดูถ่ายทอดสดกีฬาหรือรายการที่ตนเองชื่นชอบจากที่ไหนก็ได้
T : Threat
ความเร็วและความแรงของสัญญาณ3Gในประเทศไทยยังไม่เสถียร รวมถึงคลื่นความถี่ที่เหมาะสำหรับการใช้บริการMobile on TVน่าจะเป็นคลื่น4Gอย่างเช่นที่ญี่ปุ่นใช้งานอยู่ ซึ่งประเทศไทยยังขาดความชัดเจนในเรื่องการใช้งานในระบบ4G รวมถึงจำนวนผู้ใช้สมาร์ทโฟนในประเทศไทยยังมีสัดส่วนที่น้อยมาก อาจทำให้ทรูต้องพิจารณาถึงขอบเขตการลงทุนเพื่อขยายฐานลูกค้าในส่วนนี้

อ้างอิงที่มา :
http://news.siamphone.com/news-02573.html
http://guru.thaibizcenter.com/articledetail.asp?kid=734
http://www.thanonline.com/index.php?option=com_content&view=article&id=175972:4-&catid=123:2009-02-08-11-44-33&Itemid=491

Unless otherwise stated, the content of this page is licensed under Creative Commons Attribution-ShareAlike 3.0 License