เรื่อง Social Network ใครคือคู่แข่งของ LINE ?

IT Report 2
เรื่อง Social Network ใครคือคู่แข่งของ LINE ?
อ้างอิง http://www.thairath.co.th/content/tech/339450
เขียนเมื่อวันที่ 23 เมษายน 2556
โดย มาร์ก Blognone
ใครคือคู่แข่งของ LINE?

flickr:8697443037

มาถึงทุกวันนี้ผมคิดว่าผู้ใช้สมาร์ทโฟนและแท็บเล็ตในไทยคงแทบไม่มีใครไม่รู้จัก LINE แอพแชตยอดนิยมแห่งยุคสมัยนะครับ…

LINE เป็นแอพที่พัฒนาโดยบริษัท Naver จากญี่ปุ่น บุกเข้ามาถล่มตลาดประเทศไทยด้วยกองทัพสติกเกอร์ที่น่ารักน่าเป็นเจ้าของ (รสนิยมคนญี่ปุ่นเจาะตลาดไทยที่คุ้นเคยกับวัฒนธรรมญี่ปุ่นได้อย่างรวดเร็ว มาก) จนตอนนี้บริษัทห้างร้านขนาดใหญ่ๆ ในไทยต่างก็ต้องทำสติกเกอร์ใน LINE ออกมาเพื่อประชาสัมพันธ์ตัวเองไม่ให้น้อยหน้าคู่แข่ง

แถมช่วงหลังๆ มานี้ผมเดินไปซื้อของแถวไหนก็มักเจอภาพแม่ค้านั่งเล่น LINE บนสมาร์ทโฟนหรือแท็บเล็ตระหว่างรอลูกค้ามากขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งก็ถือเป็นสัญญาณอันดีว่า LINE กลายเป็นปัจจัยผลักดันสำคัญให้อินเทอร์เน็ตบนมือถือในบ้านเราเติบโตอย่าง ก้าวกระโดด
แต่ถ้าถามว่าแอพแชตในโลกนี้มีแค่ LINE หรือเปล่า คำตอบก็คือมีแอพแชตอีกเพียบ แถมแอพหลายๆ ตัวกำลังเริ่มบุกตลาดประเทศไทยกันอย่างจริงจังแล้ว คอลัมน์ตอนนี้จึงขอแนะนำแอพแชตบางตัวที่น่าสนใจดังนี้ครั
WhatsApp
ต้น ฉบับของแอพแชตบนมือถือรุ่นแรกๆ ในบ้านเรา ถึงแม้ว่าภายหลังจะแพ้ LINE เพราะมีความน่ารักกุ๊กกิ๊กสู้ไม่ได้ (WhatsApp เป็นของอเมริกา ซึ่งคงไม่คิกขุเท่าเอเชีย) แต่ก็ยังมีคนใช้อยู่มากในโลกของฝรั่งตะวันตก เท่าที่ผมคุยกับฝรั่งส่วนใหญ่ยังใช้ WhatsApp เป็นมาตรฐานในลักษณะที่ใช้คุยแทน SMS

ข้อมูลล่าสุดของ WhatsApp ระบุว่ามีผู้ใช้มากกว่า 200 ล้านคนต่อเดือน มากกว่าผู้ใช้ Twitter เสียอีก

WhatsApp มีจุดเด่นที่ระบบเสถียร ส่งข้อมูลรวดเร็ว แต่ข้อด้อยกว่า LINE นอกจากลูกเล่นน่ารักๆ คงเป็นราคาที่คิดเงิน 0.99 ดอลลาร์ต่อปี (ตรงนี้ฝรั่งยอมจ่ายเสียด้วย ทำให้รายได้ของ WhatsApp โตเร็วมาก)

WeChat
ตัว นี้มาจากประเทศจีนแผ่นดินใหญ่ โดยเป็นของบริษัท Tencent ยักษ์ใหญ่แห่งวงการเว็บจีน ชื่อที่ใช้ทำตลาดในจีนคือ “เว่ยซิน” แต่พอมาทำตลาดโลกก็เปลี่ยนชื่อเป็น WeChat ให้เรียกกันง่ายๆ
WeChat ได้รับความนิยมมากๆ ในประเทศจีน มีผู้ใช้มากกว่า 300 ล้านคน (น่าจะเยอะที่สุดในโลก เพียงแต่กลุ่มผู้ใช้ยังกระจุกตัวแค่ในจีน) และล่าสุดก็เริ่มบุกทำตลาดในไทยแล้ว โดยผ่านเครือข่ายของเว็บไซต์อันดับหนึ่งของไทยอย่าง Sanook ที่ Tencent ถือหุ้นอยู่ แถมยังเริ่มจับมือกับแบรนด์ในไทยอย่าง กลุ่มช้าง เอ็กแซ็กต์ ไอโมบาย บ้างแล้ว

ในแง่ฟีเจอร์ของ WeChat นั้นทัดเทียมกับ LINE โดยเฉพาะเรื่องการสนทนาด้วยเสียงและสติกเกอร์ เพียงแต่ความหลากหลายของสติกเกอร์อาจยังน้อยกว่า LINE และสไตล์ยังไม่โดนใจคนไทยมากนัก

ChatON
แอพ ChatON ถูกพัฒนาโดยเจ้าพ่อมือถืออย่างซัมซุง และแถมมากับมือถือซัมซุงทุกเครื่อง แต่เท่านั้นยังไม่พอ ซัมซุงยังออกแอพ ChatON บนระบบอื่นๆ ทั้ง iOS, BlackBerry, Windows Phone ให้ดาวน์โหลดไปใช้งานฟรีเพื่อเพิ่มฐานผู้ใช้อีกด้วย

ฟีเจอร์ของ ChatON ก็คล้ายๆ คู่แข่งคือคุยเป็นกลุ่มได้ ส่งไอคอนเคลื่อนไหวและไฟล์ได้ แถมยังคุยผ่านหน้าเว็บได้โดยตรงในกรณีใช้คอมพิวเตอร์ ถึงแม้ว่ากระแสของ ChatON จะไม่โดดเด่นมากเมื่อเทียบกับคู่แข่ง แต่ยอดดาวน์โหลดก็ไม่ได้แย่ ตอนนี้ทะลุหลัก 50 ล้านบนระบบ Android เพียงระบบเดียวไปเรียบร้อยแล้ว

KakaoTalk
ต้น ฉบับของแอพแชตบนมือถือรายแรกๆ ของโลก โดยออกวางตลาดตั้งแต่ปี 2010 และได้รับความนิยมอย่างสูงในเกาหลีใต้ อย่างไรก็ตาม KakaoTalk ยังไม่สามารถขยายตลาดออกมานอกเกาหลีได้มากนัก แม้ว่าบริษัทจะพยายามบุกทำตลาดในญี่ปุ่นและเอเชียบางประเทศ เช่น เวียดนามและอินโดนีเซียก็ตาม

KakaoTalk รองรับการใช้งานบนมือถือระบบหลักๆ ทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็น Android, iOS, BlackBerry, Windows Phone

BBM
ต้น ฉบับของแอพแชตอีกรายหนึ่ง แถมยังเป็นแอพแชตที่สร้างกระแสการใช้งาน BlackBerry ในบ้านเราเมื่อ 3-4 ปีก่อนด้วย ปัญหาหลักของ BBM คงมีแค่ว่ามันใช้ได้เฉพาะบน BlackBerry เท่านั้น ไม่สามารถคุยกับระบบอื่นได้เลย ดังนั้นเมื่อกระแส BlackBerry บ้านเราเริ่มตกลงก็พลอยทำให้ BBM มีคนใช้น้อยลงไปด้วย

BBM ยังเข้มแข็งในบางประเทศที่ BlackBerry ยังไปได้ดี เช่น อินเดียและอินโดนีเซีย ตัวเลขในตลาดโลกนั้นเติบโตขึ้นเรื่อยๆ เพียงแต่ในไทยคนคงใช้น้อยลงมากครับ

iMessage
แอพแชตของแอปเปิลที่มากับ iOS มีให้บน iPhone/iPad ทุกเครื่อง แถมยังสามารถคุยกับแอพ Messages บนเครื่องแมคได้ด้วย

แนว คิดของมันจะคล้ายกับ BBM คือผูกติดกับแพลตฟอร์มของบริษัทใดบริษัทหนึ่ง ซึ่งก็เป็นข้อเสียว่าจำกัดโอกาสในการคุยกับเพื่อนที่ใช้แพลตฟอร์มอื่นๆ (เช่น Android หรือ Windows Phone) นั่นเอง

Facebook Messenger
แอ พแชตตัวล่าสุดที่กำลังมาแรง มันคือระบบการส่งข้อความใน Facebook ที่มีผู้ใช้มากกว่า 1 พันล้านคนทั่วโลก แถมยังใช้ได้กับแอพ Facebook บนมือถือหลายๆ ค่ายอยู่แล้ว ทำให้มีฐานผู้ใช้เป็นจำนวนมาก

เดิมที Facebook ไม่ค่อยเน้นการแชตมากนัก เป็นความสามารถที่มีเพื่ออำนวยความสะดวกแก่ผู้ใช้เท่านั้น แต่ระยะหลัง Facebook ปรับกลยุทธ์ใหม่ เน้นการแชตมากขึ้น จึงออกแอพแยก Facebook Messenger แถมพัฒนาลูกเล่นขึ้นอีกเยอะ ล่าสุดเริ่มมีระบบสติกเกอร์แล้ว แถมยังใช้ควบคู่กับ Facebook Home ที่เป็นแอพตัวใหม่บน Android ได้ด้วย
โดย สรุปแล้วผมคิดว่า LINE ยังครองแชมป์แอพแชตอันดับหนึ่งในบ้านเราไว้ได้อีกนาน แต่คู่แข่งอย่าง Facebook Messenger, WeChat จะเริ่มบุกเข้ามามากขึ้น รวมถึง WhatsApp ที่ยังมีฐานผู้ใช้เหนียวแน่นอีกพอสมควรครับ

บทวิเคราะห์
History of Social Networking

flickr:8698565192

เมื่อพูดถึง Social Network นั้น จะรวมถึงการสื่อสารทั้งหมดที่ผู้คนจะสามารถติดต่อสื่อสารเชื่อมโยงกันได้ตลอดเวลาทุกที่ทุกแห่ง และทุกภาคส่วนทุกหน่วยงาน จะถูกเชื่อมโยงกับ Social Media จนเสมือนใช้พื้นที่เดียวกัน เช่น ข่าวบนหน้าโทรทัศน์ส่วนหนึ่งในปัจจุบันก็มาจาก Social Media ที่มีการตอบสนองระหว่างกัน รวมไปถึงข่าวสารที่มาจากประชาชน ภาครัฐและเอกชน ถ้าพูดถึงในบ้านเราปัจจุบัน ไม่ว่าอาชีพไหน เพศใด อายุเท่าไหร่ ก็สามารถเข้าถึงและใช้ Social Media อย่าง Facebook Twitter WhatsApp Line Instagram ยอดฮิตในประเทศไทย ที่ทำให้สื่อต่างๆ รวมถึงบางองค์กรนั้น สามารถที่จะดูกระแสสังคมเกี่ยวกับเหตุการณ์ต่างๆที่น่าสนใจ บุคคลใดบ้างที่เกี่ยวข้อง และสามารถหยิบไปนำเสนอเป็นเนื้อหารายการ ข่าว หรือนำไปใช้ประโยชน์ให้กับองค์กรได้ สรุปได้ว่า Social Network นั้นเป็นตัวกำหนดทิศทางของสื่อหลักในบ้านเรา เป็นเครื่องมือของประชาชน ในการเข้าถึงการบริการของรัฐและเอกชนได้ง่ายขึ้น สามารถเสนอความคิดเห็น ร้องขอ วิพากวิจารณ์ และอื่นๆอีกมากมาย ซึ่งมีทั้งผลบวกและผลลบ
อีกหนึ่งกระแสยอดฮิตในปัจจุบันคือ การติดต่อระหว่างกันด้วยการส่งข้อความ ในรูปแบบที่พัฒนามาจากเดิมSMS MMS กลายมาเป็น AppChat ที่สะดวกรวดเร็วขึ้น ค่าใช้จ่ายเมื่อเทียบกับรูปแบบเดิมก็น้อยลงมาก ยิ่งSmartPhone และ Tablet ที่คนเมืองอย่างเราถ้าไม่มีถือว่าตกยุค ตามสังคมไม่ทันเลยทีเดียว อย่างไรก็ตามไม่เพียงแต่คนเมืองที่ต้องคอยแข่งขันกันอยู่ตลอดเวลา ณ ปัจจุบันนี้ขยายวงกว้างออกไปยังคนต่างจังหวัดหรือคนรายได้น้อย ก็สามารถมี SmartPhoneมาครอบครองได้โดยง่าย ด้วยระบบ Android หรือ WidowPhone ที่ค่ายมือถือได้แข่งขันกันออก SmartPhone ราคาถูก เพื่อจับตลาดล่าง ขยายฐานลูกค้า นี้เป็นอีกเหตุผลหนึ่งที่ทำให้จำนวนผู้ใช้ของ Android มีมากกว่า Apple พอสมควร
ตลาดโตขึ้น ผู้ใช้ SmartPhone มากขึ้น ผู้ใช้ AppChat ตามกระแสมากขึ้น ดังนั้นไม่น่าแปลกใจที่ผู้คิดค้น AppChatบางตัวที่ติดอันดับต้นๆของการมีจำนวนผู้ใช้มาก จะสามารถทำรายได้เป็นกอบเป็นกำ เป็นอีกหนึ่งธุรกิจใหม่ที่สามารถทำรายได้ได้สูงมากถ้าทำได้ประสบความสำเร็จคนชอบ หรือสามารถตอบโจทย์ความต้องการของผู้คนปัจจุบันได้มากที่สุด จึงมีผู้คิดค้น AppChat เรียงแถวออก Application ไม่เว้นแต่ละวัน ทั้งนี้ทั้งนั้นจะครองใจผู้ใช้ได้ ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายประการด้วยกัน เช่น เชื้อชาติ วัฒนธรรม ลักษณะการใช้ชีวิตความเป็นอยู่ กระแสสังคม ความต้องการในแต่ละบุคคล การตลาด ความแปลกใหม่ ฯลฯ

flickr:8698566250

AppChat ที่ทำตลาดถล่มทลายในบ้านเราได้สูงสุดตอนนี้เห็นจะเป็น LINE อย่างที่บทความได้กล่าวไว้ว่า เพราะรสนิยมที่คล้ายคลึงกับประเทศผู้คิดค้นอย่างญี่ปุ่น จากการที่ดิฉันได้สอบถามเพื่อนๆหลายคน ส่วนใหญ่จะพูดเป็นเสียงเดียวกันว่าสะดวกรวดเร็วแถมมีสติ๊กเกอร์น่ารัก และคนรอบตัวใช้เยอะ ซึ่งเป็นเสียงส่วนใหญ่ที่ชื่นชอบในการใช้ LINE อีกเสียงนึงจะยกให้ WhatsApp ด้วยเหตุผลที่ว่าเร็วกว่า คล่องตัวกว่าในการคุยธุรกิจมากกว่า LINE และเสียงที่ยกให้Whatsapp ชนะเลิศนี้ ส่วนใหญ่เป็นคนไทยหรือลูกครึ่งยุโรปที่มีสไตล์การใช้ชีวิตแบบคนตะวันตกมากกว่า ซึ่งค่อนข้างตรงกับที่บทความได้กล่าวไว้ว่า ในโลกตะวันตกนั้นผู้คนนิยมใช้

flickr:8698566184

WhatsApp และยอมจ่ายเงินต่อปีอีกด้วย ทำให้ดูเหมือนว่า Appสองตัวนี้ไม่เป็นคู่แข่งกันเท่าไรนักเพราะจับตลาดคนละกลุ่ม
ด้วยวิวัฒนาการการใช้ระบบการสื่อสารผ่านข้อความที่สะดวกและรวดเร็วในบ้านเรา ที่โยกย้ายจาก ICQ MSN มาอยู่ในมือของทุกคน เริ่มต้นด้วยต้นฉบับอย่าง Blackberry ที่เป็นกระแสสำหรับคนไทยอยู่พักใหญ่ๆ ก่อนที่ AppChat อย่าง WhatsApp จะเข้ามาตีตลาด และมีความเสถียรมากกว่าในการใช้งานบน Android หรือ Appleจึงทำให้ความนิยมใน Blackberry ลดลงไปทันที หลังจากนั้น AppChat ก็เดินทางมาบุกตลาดผู้ใช้อีกมากมาย ไม่ว่าจะเป็น ChatON WeChat และอื่นๆอีกมากมายที่พยายามเข้ามาแข่งขันกัน แต่วินาทีนี้ LINE คงยังไม่เสียแชมป์ง่ายๆให้ใครไปอีกซักพักใหญ่

จัดทำโดย Arpassara I. Y34 no.30

Unless otherwise stated, the content of this page is licensed under Creative Commons Attribution-ShareAlike 3.0 License