เม็ดเงินลงทุนโฆษณาออนไลน์ปี 2016 จะเทไปทางไหน

เม็ดเงินลงทุนโฆษณาออนไลน์ปี 2016 จะเทไปทางไหน

เรารู้กันดีว่าอีก 3 ปีข้างหน้า เม็ดเงินโฆษณาออนไลน์จะมีมูลค่าสูงเกินเม็ดเงินในตลาดโฆษณาทางทีวี แต่สิ่งที่นักการตลาดควรรู้มากกว่านั้น คือเงินทุนจะเทไปที่ตลาดโฆษณากลุ่มไหนมากกว่ากัน ระหว่างโซเชียลมีเดีย, อีเมล, โมบายล์, ออนไลน์ดิสเพลย์ หรือบนเสิร์ชเอนจิน?
8692235356_4003365677.jpg

ในยุคก่อนที่อินเทอร์เน็ตจะเริ่มมีการใช้งานอย่างแพร่หลายเหมือนในปัจจุบัน ทีวีนับว่าเป็นช่องทางหลักที่เหล่าแบรนด์นักการตลาดต่างเลือกใช้ในการทำโฆษณาเพื่อสื่อสารเข้าถึงกลุ่มเป้าหมาย แต่หลังจากที่เริ่มเข้าสู่ยุคอินเทอร์เน็ต ก็พบว่านักการตลาดส่วนใหญ่เริ่มเบนความสนใจไปที่การทำโฆษณาบนออนไลน์เพิ่มมากขึ้น เนื่องจากเป็นรูปแบบในการโฆษณาที่มีความยืดหยุ่นและใช้เงินในการลงทุนที่ต่ำกว่า
เว็บไซต์ Infosys.com ประเมินว่าในปี 2016 หรืออีก 3 ปีข้างหน้า มูลค่าการลงทุนด้านโฆษณาออนไลน์จะเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องจนมีมูลค่าแซงหน้าการทำโฆษณาทีวี โดยโฆษณาออนไลน์จะมีมูลค่าการลงทุนราว 76,600 ล้านเหรียญสหรัฐ ในขณะที่การทำโฆษณาทางทีวีมีมูลค่าตามหลังอยู่ที่ 72,000 ล้านเหรียยญสหรัฐ
Infosys.com เชื่อว่ารูปแบบในการทำโฆษณาออนไลน์ที่จะได้รับความนิยมสูงสุดอันดับ 1 คือการลงโฆษณาบนเสิร์ชเอนจิน (43%) รองลงมาเป็นป้ายโฆษณาออนไลน์ (36%) ตามมาด้วยโฆษณาออนไลน์บนโทรศัพท์มือถือ (11%) โซเชียลมีเดีย (7%) และ E-mail (3%)
ทิศทางนี้เกิดขึ้นตามแนวโน้มในปัจจุบัน การตลาดผ่านเสิร์ชเอนจิน (Search Marketing) เป็นรูปแบบในการทำโฆษณาออนไลน์ที่ได้รับความนิยมและมีการเติบโตสูงที่สุดอยู่ในเวลานี้ โดยในปีนี้ (2013) คาดว่ามูลค่าการลงทุนอยู่ที่ 24,000 ล้านเหรียญสหรัฐ และมีแนวโน้มเพิ่มเป็น 33,000 ล้านเหรียญสหรัฐในปี 2016 โดยครองส่วนแบ่งในตลาดการทำโฆษณาออนไลน์สูงสุดอยู่ที่ 43%
การทำโฆษณาในรูปแบบป้ายโฆษณาออนไลน์ (Display Marketing) ที่ได้รับความนิยมตามมาเป็นอันดับ 2 ก็พบว่าเริ่มได้รับความสนใจจากกลุ่มนักการตลาดและมีจำนวนการใช้งานเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยปี 2016 มีการประเมินว่าการลงทุนในรูปแบบป้ายโฆษณาออนไลน์มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเป็น 28,000 ล้านเหรียญสหรัฐและคิดเป็น 37% ของการลงทุนในตลาดโฆษณาออนไลน์
ตามมาด้วยอันดับ 3 การทำโฆษณาผ่านโทรศัพท์มือถือ (Mobile Marketing) โดยผลการสำรวจพบว่า การทำโฆษณาบนมือถือกำลังให้เป็นจับตามองของเหล่านักการตลาดเพิ่มมากขึ้นเนื่องจากความนิยมในการใช้งานโทรศัพท์มือถือที่มีอยู่ทั่วโลกบวกกับบทบาทของโทรศัพท์มือถือที่เริ่มมีอิทธิพลต่อผู้บริโภคเพิ่มมากขึ้น โดยมีการประเมินว่าในปีนี้ (2013) มีมูลค่าการลงทุนอยู่ที่ 4,000 ล้านเหรียญสหรัฐและคาดว่าจะเพิ่มสูงถึง 8,000 ล้านเหรียญสหรัฐในปี 2016
ส่วนการทำโฆษณาออนไลน์ที่ได้รับความนิยมมาเป็น 2 อันดับสุดท้าย คือ โซเชียลมีเดีย (Social Media) และ E-mail (E-mail Marketing) ก็พบว่า การทำโฆษณาทั้ง 2 รูปแบบยังมีการเติบโตในระดับปานกลาง โดยในปี 2016 คาดว่าการทำโฆษณาในรูปแบบโซเชียลมีเดียมีมูลค่าอยู่ที่ 5,000 ล้านเหรียญสหรัฐและครองส่วนแบ่งในการลงทุนอยู่ที่ 7% ในขณะที่การทำโฆษณาในรูปแบบ E-mail ที่ได้รับความนิยมตามมาเป็นอันดับสุดท้าย ก็คาดว่าจะมีมูลค่าการลงทุนอยู่ที่ 2,500 ล้านเหรียญสหรัฐและครองส่วนแบ่งตลาดเพียงแค่ 3% เท่านั้น

online-Adver1

สรุปเนื้อหาข่าว
เมื่อเข้าสู่ยุคอินเทอร์เน็ต การทำโฆษณาผ่านทีวี น่าจะลดความนิยมลง นักการตลาดยุคใหม่จึง เริ่มให้ความสนใจกับการทำโฆษณาออนไลน์ เพราะเป็นการโฆษณาที่มีความยืดหยุ่นและใช้เงินในการลงทุนที่ต่ำกว่า
เว็บไซต์ Infosys.com จึงได้ทำการคาดการณ์ในปี 2016 ถึงมูลค่าเงินลงทุนด้านโฆษณาออนไลน์ จะมีมูลค่าเพิ่มขึ้นถึง 76,600 ล้านเหรียญสหรัฐ
จากการสำรวจพบว่า โฆษณาออนไลน์ที่จะได้รับความนิยมสูงสุดอันดับ 1 คือ การลงโฆษณาบน Search Engine (43%) รองลงมาเป็นป้ายโฆษณาออนไลน์ (36%) ตามมาด้วยการโฆษณาออนไลน์บนโทรศัพท์มือถือ (11%) โดยในปัจจุบันการตลาดผ่าน Search Engine เป็นรูปแบบการทำโฆษณาออนไลน์ที่ได้รับความนิยมและมีการเติบโตสูงที่สุดในเวลานี้ และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยในปี 2016 ครองส่วนแบ่งการตลาดออนไลน์สูงที่สุด
ส่วนรูปแบบการทำโฆษณาออนไลน์ในรูปแบบอื่นๆ มีสัดส่วนลดลงมา ตามลำดับ คือ ป้ายโฆษณาออนไลน์ (Display marketing) 36% การทำโฆษณาผ่านโทรศัพท์มือถือ (Mobile Marketing) 11% Social Media 7% และ E-mail Marketing 3%

วิเคราะห์ข่าว
จากเนื้อหาข่าวข้างต้น พบว่าการโฆษณาออนไลน์เป็นที่นิยมและมีบทบาทเพิ่มมากขึ้น เพราะลูกค้าสามารถเข้าถึงข้อมูลได้ตลอดเวลา จากการที่อินเทอร์เน็ตเข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวันมากขึ้น ทำให้ความสามารถในการเข้าถึงของลูกค้าหรือผู้ใช้บริการทั้งในและต่างประเทศ เข้าถึงข้อมูลของสินค้าหรือผลิตภัณฑ์ได้พร้อมๆ กัน
โดยโฆษณาออนไลน์ที่ได้รับความนิยมสูงสุด เป็นอันดับ 1 คือ การลงโฆษณาบน Search Engine โดยมีส่วนแบ่งถึง 43% ซึ่งในปัจจุบันการความนิยมในการใช้ Search engine เป็นเครื่องมือในการค้นหาข้อมูลต่างๆ มีมากขึ้น

จากการใช้งาน Search Engine ตามกราฟด้านบน พบว่ามีการใช้งาน Google สูงมากที่สุด การทำตลาดออนไลน์ผ่านการค้นหาโดยใช้การโฆษณาผ่าน Google จึงน่าจะได้ผลที่ดีตามมาด้วย
การทำ SEM (Search Engine Marketing) สามารถแบ่งได้เป็น 2 ส่วน คือ
1. SEO (Search Engine Optimization) หรือการโปรโมทเว็บไซต์ คือ การเพิ่มอันดับของเว็บไซต์ในส่วนของผลการค้นหาทั่วไปในหน้า Search Result Page โดยการปรับเปลี่ยนโครงสร้างภายในเว็บไซต์ให้เป็นไปตามกฏของ Search Engine นั้นๆ เช่นการกำหนด Keyword เข้าไปในโครงสร้างเว็บไซต์
2. PPC (Pay Per Click) คือ ส่วนของพื้นที่โฆษณาซึ่งอยู่ในหน้า Search Result Page เช่นกัน แต่ต้องจ่ายเงินเมื่อมีการคลิ๊กเปิดเข้าไปดูเว็บไซต์ PPC มีข้อแตกต่างกับ SEO ตรงที่สามารถแสดงผลในลำดับต้นๆได้ง่ายและรวดเร็ว โดยที่ไม่ต้องปรับเปลี่ยนโครงสร้างในเว็บไซด์ เพียงแค่ประมูล Keyword ที่ต้องการมา เว็บไซต์ก็สามารถแสดงอยู่ในอันดับต้นๆได้

ตัวอย่างหน้าผลการค้นหาของ Google.co.th โดย Keyword คำว่า “ทัวร์ ญี่ปุ่น”

สรุป
จากแนวโน้มการโฆษณาออนไลน์ ในรูปแบบต่างๆ ทำให้นักลงทุนหันมาพัฒนารูปแบบของการโฆษณาให้ตรงกับกลุ่มเป้าหมายมากขึ้น เพราะการแสดงโฆษณาครอบคลุมกลุ่มผู้ใช้อินเทอร์เน็ตถึง 80% ของกลุ่มผู้ใช้อินเทอร์เน็ตทั่วโลก
และมีจุดเด่นในเรื่องของการเข้าถึงลูกค้ากลุ่มเป้าหมายได้อย่างแม่นยำ ตามลักษณะการใช้งาน Search Engine ของตัวลูกค้า แต่ทั้งนี้การโฆษณาในรูปแบบอื่นๆ เช่น ป้ายโฆษณาออนไลน์ การโฆษณาผ่านโทรศัพท์มือถือ และที่กำลังเป็นที่นิยมอีกรูปแบบคือ การโฆษณาผ่าน Social Media ทั้งนี้การลงทุนในการโฆษณาด้านต่างๆ ควรคำนึงถึงรูปแบบ ความพร้อม ตลอดจนลักษณะของสินค้า หรือบริการว่ามีความเหมาะสมในการเลือกสื่อที่จะโฆษณา ไปพร้อมๆ กันด้วย

โดย พิทยา ชื่นอารมณ์ 5510221040
By Pittaya Chuenarrom
NIDA Business School, YMBA 34
แหล่งที่มา http://thumbsup.in.th/2013/04/online-tv-advertising/
วันที่ 15 เมษายน 2556
อ้างอิง : http://en.wikipedia.org/wiki/Search_engine_marketing
https://adwords.google.com

Unless otherwise stated, the content of this page is licensed under Creative Commons Attribution-ShareAlike 3.0 License