ปี 2012 ผู้บริโภคหันมาใช้ QR CODE ในการสแกนเพิ่มมากขึ้น
168ab_wallpapers_scanning-qr-code.jpg

ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา กระแสความนิยมเรื่อง QR Code หรือบาร์โค้ด 2 มิติเริ่มแพร่หลายมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นบนกล่องชาเขียวบางยี่ห้อบนซองขนมหรือแม้กระทั่งบนนามบัตร เนื่องจาก QR Code เป็นการนำเสนอข้อมูลที่สามารถเข้าถึงกลุ่มผู้บริโภคได้รวดเร็วตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคยุคใหม่ที่มีเวลาจำกัดในการรับข้อมูล
QR Code (Quick Response) เป็นบาร์โค้ด 2 มิติที่ถูกสร้างและพัฒนาขึ้นจากบาร์โค้ดในรูปแบบเดิมโดยบริษัท Denso-Wave ในประเทศญี่ปุ่น เป้าหมายในการพัฒนาคือเพื่อใช้ในการนำเสนอข้อมูล เช่น ชื่อและรายละเอียดสินค้า โปรโมชั่น รวมไปถึงรายละเอียดเกี่ยวกับบริษัท อย่าง เบอร์โทรศัพท์ ที่อยู่ หรือแม้แต่เว็บไซต์ ให้กลุ่มผู้บริโภคสามารถเปิดชมได้ในเวลารวดเร็ว โดยผู้ใช้งานสามารถถอดรหัสออกมาเป็นข้อมูลเหล่านี้ได้เพียงแค่การสแกน QR Code ผ่านกล้องบนโทรศัพท์มือถือเท่านั้น
เว็บไซต์ Printrobot.com รายงานว่า ปัจจุบันการใช้งาน QR Code ได้รับความนิยมในกลุ่มผู้บริโภคเพิ่มมากขึ้นโดยเฉพาะในปี 2012 ที่ผ่านมา โดยพบว่าผู้บริโภคมีการสแกนข้อมูลผ่าน QR Code เพิ่มขึ้นจากไตรมาส 1 ปี 2011 ถึง 4549% โดยผู้ใช้งานส่วนใหญ่มีอายุเฉลี่ยอยู่ที่ 35-44 ปี (25%) รองลงมาเป็นอายุ 25-34 ปี (22%) อายุ 45-54 ปี (21%) อายุ 18-24 ปี (16%) อายุ 55 ปีขึ้นไป (11%) และอายุต่ำกว่า 18 ปี (5%)
นอกจากนี้ยังพบว่า Android เป็นระบบปฎิบัติการที่ถูกใช้ในการสแกน QR Code มากที่สุดเป็นอันดับ 1 (48%) รองลงมาเป็น iOS (45%) Blackberry (4%) และ Symbian (3%) ในมุมมองของร้านค้า จากการสำรวจพบว่าเป้าหมายหลักของการนำ QR Code มาใช้ในการทำธุรกิจ คือ ต้องการบอกรายละเอียดสินค้า ขณะที่บางร้านใช้ QR เพื่อเป็นคูปองลดราคาสินค้า, ใช้เป็นรหัสสำหรับชำระค่าสินค้าผ่านทางโทรศัพท์มือถือ (Mobile Payment), ใช้เชื่อมโยงเข้าสู่ social media และใช้เป็นทางดาวน์โหลดแอพพลิเคชั่นที่ง่ายกว่าและเมื่อลองสอบถามถึงการใช้งาน QR Code ในกลุ่มนักการตลาดและนักธุรกิจพบว่า ส่วนใหญ่เริ่มให้ความสนใจในการนำ QR Code มาใช้ในการทำการตลาดเพิ่มมากขึ้น โดยในปี 2012 ที่ผ่านมา QR Code มีจำนวนการใช้งานเพิ่มขึ้นจากเดิมในปี 2011 ที่มีเพียงแค่ 8% เป็น 47% อีกทั้งในกลุ่มที่ยังลังเลและไม่ค่อยเชื่อมั่นในการใช้งาน QR Code เท่าไหร่นัก ก็เริ่มเปลี่ยนใจและหันมาให้ความสำคัญกับการใช้งาน QR Code เพิ่มมากขึ้นในปี 2012 ด้วยเช่นกัน

ส่วนแนวโน้มการใช้งาน QR Code ในปีนี้ (2013) มีการประเมินว่า การใช้งาน QR Code จะยังคงได้รับความนิยมอย่างต่อเนื่อง จนมีจำนวนการใช้งานเพิ่มขึ้นเป็น 305 ล้านโค้ด และคาดว่าจะทำสถิติเพิ่มสูงขึ้นถึง 590 ล้านโค้ดในปี 2016 หรืออีกเพียงแค่ 3 ปีข้างหน้า

qr-code-usage-statistics_516719233d434.png

สรุปและวิเคราะห์ข่าว

**QR CODE หรือ (Quick Response ) ถูกคิดค้นขึ้นในปี 1994 โดยบริษัท Denso-Wave เป็นบริษัทของญี่ปุ่น QR CODE คือ 2 D Bar code (Two dimensional bar code ) เป็นเป็นเทคโนโลยีที่สามารถบรรจุข้อมูลได้หลายตัวอักษรหรือเชื่อมโยงไปยังเว็บไซต์ที่ต้องการได้ รับรู้ว่าใครเป็นผู้ใช้ และอยู่ที่ไหน ผ่านระบบอินเตอร์เน็ต ทำให้สะดวกรวดเร็วไม่ต้องพิมพ์ข้อความ โดยเมื่อพบ QR CODE ตามสถานที่ต่างๆ ทั้งป้ายโฆษณา แมกกาซีน ก็สามารถใช้โทรศัพท์มือถือที่มีโปรแกรม QR CODE เช่น QR CODE Reader , Quick mark , Active Print เป็นต้น ไปสแกนโปรแกรมก็จะอ่านและแสดงข้อมูลเป็นตัวอักษรออกมา เช่น URL , Website นอกจากข้อมูลที่แสดงข้างต้น QR CODE สามารถแสดงข้อมูลต่างๆได้อีกดังตัวอย่างนี้
1. ข้อมูลกำหนดการกิจกรรม (Calendar Event) - เมื่อลูกค้าสแกน QR Code แล้ว กำหนดการของอีเวนท์หรืองานต่างๆ ที่ที่ทางบริษัทใส่ไว้ก็จะบันทึกลงในมือถือของลูกค้า และคอยเตือนเมื่อถึงเวลาทันที
2. ข้อมูลการติดต่อ (Contact Information) - ข้อมูลการติดต่อ จะประกอบด้วยชื่อ เบอร์โทรศัพท์ เว็บไซต์ อีเมล หรือข้อมูลประกอบเล็กๆ น้อยๆ เมื่อผู้ใช้สแกน QR Code ผู้ใช้ก็จะสามารถบันทึกข้อมูลต่างๆลงไปใน Contact ของโทรศัพท์มือถือได้ทันทีสะดวกกว่าการให้เบอร์โทรศัพท์เพียงอย่างเดียว
3. Geolocation – สามารถนำเอาตำแหน่ง GPS ของที่ตั้งร้านค้า หรือตำแหน่งที่ต้องการแสดงไปสร้างเป็น QRcode ได้ ซึ่งจะช่วยให้สามารถหาตำแหน่งที่ตั้งได้ง่ายขึ้น
4. Wifi network - QRcode ที่บรรจุข้อมูล wifi accesspoint เอาไว้ จะทำให้คนที่มาสแกนสามารถเชื่อมต่อกับ wifiโดยไม่ต้องมาสแกนหาหรือต้องมาลำบากใส่ password ที่ตั้งเอาไว้

SWOT ANALYSIS
Strength
• QR CODE สามารถสร้างขึ้นและใช้งานได้ง่ายและช่วยเพิ่มความสะดวก
• QR CODE สามารถสื่อสารข้อมูลได้โดยตรงกับผู้ใช้งาน
• มีการตอบนองต่อการใช้งานที่รวดเร็วเมื่อนำมาใช้กับ social media
• เพิ่มช่องทางการตลาดและประชาสัมพันธ์ในรูปแบบที่หลากหลาย**

Weak
• ด้วยสัญลักษณ์หรือขนาดที่ไม่ดึงดูดหรือไม่สื่อถึงข้อมูลภายใน
• วิธีการใช้ในผู้ที่ใช้ครั้งแรกอาจทำให้ไม่ทราบถึงขั้นตอน
• จำกัดอยู่ในเฉพาะกลุ่มผู้ใช้ smart phone และต้องมีโปรแกรมการอ่าน QR CODE อยู่ด้วย

Opportunity
• ออกแบบ QR CODE ให้มีความดึงดูดน่าสนใจ
• มีการเพิ่มกลุ่มเป้าหมายไปสู่ผู้ใช้ที่หลากหลายขึ้น
• เพิ่มช่องทางการเข้าถึงจุดที่จะสแกน QR CODE ให้ง่ายและมากขึ้น

Threat
• ไม่สามารถใช้กับผู้ที่ไม่มี smart phone
• ตำแหน่งการวางเพื่อที่จะแสกนไม่เหมาะสม

สรุป
ด้วยการสร้าง QR CODE ทำได้ง่ายและมีประโยชน์มากมายเพิ่มความสะดวกรวดเร็วและการใช้งานง่าย สามารถเข้าถึงผู้บริโภคได้โดยตรง เกิดการสร้างแรงจูงใจต่อตัวสินค้าและผลิตภัณฑ์ทำให้แนวโน้มการเพิ่มการใช้งานของ QR CODE เป็นไปอย่างรวดเร็วและเกิดการพัฒนานำไปใช้ทางธุรกิจเป็นช่องทางในการทำการตลาดในการให้ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับสินค้า, ข้อมูลโฆษณา ,ข้อมูลโปรโมชั่นส่วนลดพร้อมทั้งนำเสนอข้อมูลในรูปแบบ e- coupon ที่ลูกค้าสามารถนำมาใช้งานได้จริง , ข้อมูลกิจกรรมต่าง

และได้มีการพัฒนา QR CODE ให้มีรูปแบบที่น่าสนใจและดึงดูดกลุ่มลูกค้ามากขึ้น ไม่ใช่ที่มีแต่รูปแบบขาวกับดำ โดยให้มีแบบรูปแบบสีหรือทรอดแทรกโลโก้ที่ดึงดูดความสนใจจะช่วยเพิ่มจำนวนผู้ใช้งานได้มากยิ่งขึ้น เช่น การร่วมมือกันระหว่างนักออกแบบชาวญี่ปุ่น Takashi Murakami กับ Louis Vuitton ในการออกแบบ QR CODE ให้มีสีสันและลวดลายที่น่าสนใจมากขึ้น

qrcode.jpg

ที่มา http://thumbsup.in.th/2013/04/qr-code-usage-statistics/
ผู้จัดทำ สิรินทิพย์ หมอทรัพย์ ID 5510221061

Reference
http://www.sadung.com/?p=5247
http://www.takashimurakami.net/

Unless otherwise stated, the content of this page is licensed under Creative Commons Attribution-ShareAlike 3.0 License