Knowledge Management : Km

การบริหารจัดการความรู้ในองค์กร
Knowledge Manangement หมายถึง กระบวนการสร้างความรู้ รวมถึง การจัดเก็บ การอัพเดตและการแพร่กระจายความรู้ภายในองค์กร โดยสัดส่วนของ KM จะมีส่วนของเทคโนโลยี เข้ามาเกี่ยวข้องอยู่ประมาณ 20 % อีก 80 % เป็นด้านบริหารจัดการองค์ความรู้โดยประเด็นที่เป็นปัญหาอยู่มาก คือ ทำอย่างไรให้องค์ความรู้ในตัวบุคคลถูกนำมาใช้กับองค์กรได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ แม้ว่า บุคคลนั้นๆไปจากองค์กรแล้วก็ตาม

ซึ่งก่อนอื่นควรเข้าใจและแยกความแตกต่างของ 3 คำนี้

flickr:8721160263

Data คือ ข้อมูลดิบที่ยังไม่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้

Information คือ ข้อมูลดิบที่ผ่านการประมวลผลมาแล้ว สามารถนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ในการวางแผน ควบคุมและ ตัดสินใจได้

Knowledge คือ การนำเอา Information มาปรับใช้ในสถานการณ์ใดสถานการณ์หนึ่ง โดยความรู้ที่ใช้ได้ผลในสถานการ์ณและสถานที่หนึ่งๆ อาจจะใช้ไม่ผลกับอีกสถานการณ์หรืออีกสถานที่หนึ่ง การปรับองค์ความรู้ให้สอดคล้องในแต่ละสถานการ์และสถานที่ให้สอดคล้องเหมาะสม จึงเป็นสิ่งสำคัญ

ส่วน Wisdom เป็นสิ่งที่บอกเราว่าในสถานการณ์และสถานที่ใด ควรจะนำเอา Knowledge ใดมาประยุกต์ใช้ ซึ่ง Wisdom เกิดจากประสบการณ์เฉพาะบุคคลนั้นๆ ที่สั่งสมมายาวนาน

EXPLICIT & TACIT KNOWLEDGE

Knowledge มี2 รูปแบบ ดังนี้ คือ

Explicit Knowledge คือ ความรู้ที่เห็นชัดเจน สามารถจดบันทึก จัดเก็บ และ Transfer ไปสู่บุคคลอื่นได้ง่าย มักจะอยู่ในรูปแบบของหนังสือ ข้อมูลในเวบไซต์

Tacit Knowledge คือ ความรู้เฉพาะบุคคลที่เกิดจากประสบการณ์ที่สั่งสมมายาวนานจนเป็นความเชี่ยวชาญ เข้าถึงได้ยาก ที่สำคัญคือ ถ่ายทอดต่อไปยังบุคคลอื่นได้ยาก

flickr:8721160283

โดยส่วนใหญ่แล้ว ผู้บริหารระดับสูงจะมี Tacit Knowledge ที่เกิดจากการสั่งสมประสบการณ์เฉพาะบุคคล ทำให้สามารถแก้ปัญหาในองค์กรได้อย่างมีประสิทธิภาพ จึงเกิดเป็นประเด็นคำถามว่า จะทำยังไงให้ ให้ Tacit Knowledge เหล่านั้น ถูกนำมาเผยแพร่และนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์แก่องค์กร

Learning Organization องค์กรแห่งการเรียนรู้

องค์กรที่ดีควรจะมีการเรียนรู้ข้อผิดพลาดจากในอดีต เพื่อไม่ให้เกิดข้อผิดพลาดซ้ำๆอีก
จากหนังสือ Fifth Discipline ได้กล่าวถึง องค์กรแห่งการเรียนรู้ จะต้องมี 5 กิจกรรม ดังนี้
1. มีกระบวนการแก้ปัญหาอย่างระบบ
2. กระตุ้นสนับสนุนให้พนักงานกล้าเผชิญปัญหาลำกล้าคิดค้นสร้างสรรค์อะไรใหม่ๆให้องค์กร
3. มีการเรียนรู้จากข้อผิดพลาดในอดีต
4. มีการเรียนรู้จากองค์กรอื่นๆ
5. ถ่ายทอดความรู้นั้นไปสู่บุคคลอื่นในองค์กร

โดยที่ Action ทั้งหมดที่กล่าวไปแล้ว จะต้องมีการทบทวน 4 ประเด็น ดังนี้
1. คาดว่า จะเกิดอะไรขึ้น
2. อะไรที่เกิดขึ้นจริง
3. ข้อแตกต่างระหว่างสิ่งที่คาดว่าจะเกิดกับสิ่งที่เกิดขึ้นจริง
4. เราสามารถเรียนรู้อะไรจากสิ่งเหล่านี้

Nonaka Model of Knowledge Creation

flickr:8721160265

นักวิจัยชาวญี่ปุ่นเจ้าของ ทฤษฎี Nonaka Model of Knowledge Creation ได้กล่าวถึงว่า ความรู้เกิดมาได้อย่างไร โดยทั้ง Tacit Knowledge และ Explicit Knowledge มีบทบาทอย่างไรในการเกิดความรู้แต่ละรูปแบบ

Socialization เป็นความรู้ที่เกิดจาก Tacit Knowledge ที่มีการปฏิสัมพันธ์ระหว่างกัน ผลที่ได้จะเกิดเป็น Tacit Knowledge เช่น การเรียนหนังสือที่ Tacit Knowledge จากผู้สอนถ่ายทอดสู่ผู้เรียนโดยประมวลเข้ากับประสบการณ์เดิมที่ผู้เรียนมีอยู่เล้ว

Externalization เป็นความรู้ที่เกิดจาก Tacit Knowledge ที่ถ่ายทอดไปสู่บุคคลอื่นในแบบที่จับต้องได้ เช่น การใช้ความรู้ที่มีอยู่เขียนบทความ ผลที่ได้จะเกิดเป็น Explicit Knowledge

Combination เป็นความรู้ที่เกิดจาก Explicit Knowledge ที่อยู่ในรูปที่จับต้องได้ มาสังเคราะห์รวมกัน มักออกมาในรูปแบบของการแชร์ข้อมูลระหว่างกัน

Internalization เป็นความรู้ที่เกิดจาก Explicit Knowledge ที่อยู่ในรูปที่จับต้องได้ มาเป็น Tacit Knowledge เป็นรูปแบบของการรับรู้หรือสั่งสมประสบการณ์ต่างๆ มาเป็นความรู้แบบ Tacit ที่เฉพาะบุคคล

บทบาทของ IT ใน KM

บทบาทของ IT ส่วนใหญ่เป็นการสร้างระบบ Operation เพื่อช่วยในการทำงานร่วมกัน อีกทั้ง เป็นตัวกลางในการ Storage และเผยแพร่ความรู้ให้พนักงานเข้าถึงความรู้นั้นๆได้

สำหรับองค์กรขนาดใหญ่ ที่มีจำนวนพนักงานมาก จะประสบปัญหาการแก้ปัญหาซ้ำซ้อนในองค์กร จึงเกิดเป็น Software หนึ่ง ชื่อว่า Expert Location System เป็นการจัดเก็บ Solution ในการแก้ปัญหาของพนักงานที่แก้ปัญหานั้นสำเร็จ มาแชร์วิธีการแก้ปัญหานั้น เมื่อพนักงานคนอื่นเจอปัญหาในแบบเดียวกัน ก็สามารถเข้ามาศึกษาหรือปรึกษากับพนักงานท่านนั้น เพื่อหาวิธีการแก้ปัญหา ทำให้รวดเร็วและไม่ทำงานซ้ำซ้อน

ผู้ที่มีส่วนร่วมในการจัดการความรู้ในองค์กร มีด้วยกันหลายแผนก แต่บุคคลที่สำคัญที่สุด คือ
CKO (Chief Knowledge Officer) เพราะเป็นผู้ที่ริเริ่มการจัดทำ Knowledge Management ขึ้นในองค์กร

Success & Failure Factor

มากกว่า 50% ขององค์กรที่นำ Knowledge Management มาใช้ในองค์กรแล้วเกิดความล้มเหลว เพราะสาเหตุหลักมาจากด้าน Management คือ ผู้บริหารขาดการสร้างแรงกระตุ้นและแรงจูงใจในการให้ผู้ใช้เข้าไปใช้ระบบ เนื่องจากไม่เห็นประโยชน์ อีกทั้งขาดการจัดสรรเจ้าหน้าที่ Support ระบบ

ส่วนปัจจัยของความสำเร็จในการนำ KM มาใช้ ส่วนใหญ่มาจากการสนับสนุนของผู้บริหารระดับสูง มีการ Training และสร้างแรงจูงใจให้พนักงานเห็นประโยชน์ของการเข้าถึงองค์ความรู้ในองค์กร

Unless otherwise stated, the content of this page is licensed under Creative Commons Attribution-ShareAlike 3.0 License